วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เหตุการณ์ที่สำคัญของจังหวัดสตูล

ตะรุเตาเรือนจำในอดีต
       เมื่อพูดถึงเกาะตะรุเตาทุกคนมักจะต้องคิดถึงดินแดนแห่งการกักกัน คุมขัง นักโทษ การเมือง และนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ใครที่เคยได้เคยดูภาพยนตร์เรื่อง " ตะรุเตา " หลายปีที่ผ่านมามาแล้วยังมีเจตคติที่ว่า ตะรุเตาเป็นดินแดนนรก เป็นคุกของนักโทษผู้คุมนักโทษ ขนหิน นักโทษถูกเฆี่ยนตี ดินแดนนี้คือ นรกแท้ ๆ ชุกชุมไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไข้ป่า มาลาเรีย ฉลามร้าย ผู้ใดเข้าไปแล้วยากแก่การหลบหนี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็น ถึงจุดนี้จึงใช้เกาะตะรุเตาเป็นจุดคุ้มกันนักโทษ
           
ปัจจุบันตะรุเตาได้รับการสนับสนุนให้เป็นอุทยานแห่งชาติอันล้ำค่าของอันดามัน บริเวณช่องแคบ มะละกา มหาสมุทรอินเดีย เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลของประเทศไทยที่ สวยงามมาก ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูลห่างจากตัวเมืองสตูลไปทาง ทิศ ตะวันตก ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร การเดินทางไปเกาะตะรุเตาง่ายและสะดวกมาก โดยนั่ง เรือจาก ปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตรงไปยังเกาะตะรุเตา หรือจากสตูลท่าเรือตำมะลัง ตรงไปยังเกาะตะรุเตาได้เลย
ตะรุเตาในอดีต          ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ คณะบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจ เกาะตะรุเตาเพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการ เวลา ๑๑ เดือน ผ่านไปงานบุกเบิกจึงสำเร็จลุล่วง
           ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางราชการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาให้ตะรุเตาเป็นเขต หวงห้ามไว้ใช้ในกรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกันนักโทษ หรือป้อมฝึกวิชาชีพ เกาะตะรุ เตามีทะเลอันกว้างใหญ่เป็นกำแพงกั้นตามธรรมชาติ ยากแก่การหลบหนี จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์แห่งตะรุเตา
           นิคมหรือป้อมฝึกอาชีพเกาะตะรุเตา มีฐานะเป็นกองผู้บัญชาการ มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ เป็นข้าราชการชั้นเอก ชื่อขุนอภิพัฒน์ สุรทัณฑ์ (เนื่อง มาสะวิสุทธิ์) หน่วยของ นิคมฝึกอาชีพบนเกาะตะรุเตา แบ่งเป็น ๓ แผนก คือ
           ๑. แผนกอำนวยการ
           ๒. แผนกงาน
           ๓. แผนกควบคุม
           แต่ละแผนกมีหัวหน้า คือ พัศดี รับผิดชอบ กองบัญชาการ ซึ่งเป็นที่ทำงานของขุน อภิพัฒน์ มี ๒ แห่ง ที่เกาะตะรุเตา บริเวณอ่าวตะโละวาว และที่จังหวัดสตูล ขุนอภิพัฒน์ มีร่าง อ้วนใหญ่ ผิวคล้ำ นัยน์ตาดุ ค่อนข้างนักเลง เหมาะสมแล้วที่เป็นผู้คุมนักโทษ            นักโทษที่ส่งไปควบคุมที่เกาะตะรุเตา มี ๒ พวก คือ นักโทษทั่วไป และนักโทษการ เมือง นักโทษทั่วไปส่งไปจากคุกต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีคดีอุกฉกรรจ์ ส่วนนักโทษการเมือง มีแนวคิดตรงข้ามกับรัฐบาล เป็นนักโทษ " กบฏบวรเดช " จากบางขวาง นักโทษทั้งสองกลุ่ม นี้มีความแตกต่างกันมากในด้านความคิด ความอ่าน จึงอยู่รวมกันไม่ได้
            
นักโทษการเมือง ถูกควบคุมตัวทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง ห่าง เกาะลังกาวี มาเลเซีย เพียง ๔ กิโลเมตร นักโทษทั่วไปถูกกักกันบริเวณอ่าว ตะโละวาว อยู่ ทาง ตอนเหนือตามแนวถนนที่นักโทษสร้าง ขึ้นราว ๑๐ กิโลเมตร บ้านนักโทษสร้างเป็นเรือน ขนาดใหญ่ พักรวมกันหลายคน ตามหลักฐานว่า มีนักโทษหญิงด้วย ประมาณ ๒๐ คนแต่กักกัน ให้อยู่พิเศษ มีการแบ่งย่อยเป็นแดน ๆ แต่ละแดนมีโรงครัวและที่กินอาหาร
            
บ้านผู้คุม พัศดี สร้างเป็นเรือนไม้ค่อนข้างถาวร บ้านพักผู้บัญชาการ ตั้งอยู่บนเนิน สูงตระหง่าน ห่างจากทะเลประมาณ ๘๐ เมตร
            
ชีวิตนักการเมืองไม่แน่นอนมีโชควาสนาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตมียศศักดิ์ แต่เมื่อตก อับก็อยู่ในคุกตาราง...นี่คือ การเมือง !
นักโทษการเมือง ที่ส่งไปคุมขัง ณ ตะรุเตา จากเรือนจำกลางบางขวาง ต้องคดีกบฏ บวรเดช มีดังนี้

           ๑. หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นนักโทษการเมืองคนสำคัญ ทางราชการ สร้างที่ ประทับและถวายอารักขาอย่างดีเยี่ยม มีความรู้ทางเกษตร เช่น ปลูกแตงกวาบนพื้น ทราย ปลูกมะพร้าวพันธุ์พื้นเมือง เลี้ยงเป็ด ไก่ ได้ผลเป็นที่น่าชื่นชม เมื่อทรงพ้นโทษแล้วก็ได ้ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๑ สมัยนายควง อภัยวงศ์ เป็น นายกรัฐมนตรี
           ๒. นาวาเอก พระยาศราภัย พิพัฒน์ (เลื่อน ศราภัยวานิช) ต้องโทษตลอดชีวิต มี ความผิดมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๖ มีสมญานามว่า นักโทษปาปิญอง คิดแต่จะหนี แล้วก็หนี พอไป อยู่เกาะเห็นเกาะลังกาวีอยู่ลิบ ๆ ก็วางแผนอยู่วันแล้ววันเล่าคิดแต่จะหนีท่าเดียว
          ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๒ พระยาศราภัยพิพัฒน์ พร้อมเพื่อนนักโทษ ๔ คน ลงเรือ ฝ่าดงฉลามข้ามไปยัง เกาะลังกาวีได้ เมื่อรัฐบาลออกพระราชบัญญัติ นิรโทษกรรม นักโทษ การเมืองผู้นี้จึงกลับสู่มา ตุภูมิ
           เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ - ๒๔๙๑ และได้รับ ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สมัย นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
           ๓. หลวงมหาสิทธิโวหาร (สอ เศรษฐบุตร) ต้องโทษเดียวกันกับพระยาศราภัย พิพัฒน์ สำเร็จวิศวกรรมศาสตร์จากอังกฤษ ใช้เวลาตอนที่ติดคุกอยู่บางขวางในการแปลดิกชัน นารี เอนไซ โคลปิเดีย จาก A - Z จบที่บางขวาง เริ่มเขียนต่อที่เกาะตะรุเตา และจบบริบูรณ์ เมื่อถูกส่งไปควบคุมที่เกาะเต่า จังหวัด สุราษฎร์ธานี ต้องทนทุกข์ทรมานหมอบกับพื้น เขียน หนังสือ ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนทุกวันนี้
           ๔. นายหลุย ศิริวัตร ครูสอนภาษาฝรั่งเศส
           ๕. นาวาเอก พระแสงสิทธิการ เหรัญญิก สภากาชาดสยาม ผู้เป็นทูตถือสาส์น ถึงพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลยอมแพ้กองทัพกบฏ ผลคือถูกจับ และสิ้นชีวิตที่เกาะตะรุเตา
           ๖. หม่อมหลวง ทวีวงษ์ วัชรีพงษ์ ชอบเล่นกีตาร์และเป็นครูสอนตัดเสื้อแก่นักโทษ
           ๗. นายอรุณ บุนนาค สารวัตรรถจักรภาคอีสานผู้ขับรถไฟฮาโมแนก ประสานงา กับรถไฟหุ้มเกราะบรรทุกปืนใหญ่ของฝ่ายรัฐบาล บริเวณสับเปลี่ยนรถไฟบางเขน หมกมุ่นกับ การค้นคว้าหนังสือ
           บรรดานักโทษการเมืองหลายคนถูกปล่อยเกาะตะรุเตา ๔ - ๕ ปี บางคนถูกส่งตัว ไป ขังต่อที่ เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปลายสงครามโลก ครั้งที่ ๒ นาย ควง อภัยวงศ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมนักโทษการเมือง เมื่อ ๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๗ นักโทษถือว่าไม่มีความผิดจึงมีอิสระทั่วหน้ากัน บางคนก็เล่นการเมือง ต่อ เช่น หม่อมเจ้า สิทธิกร กฤดากร โชติ คุ้มพันธ์ ไตย สุวรรณทัต และ พระยาสุรพันธ์ เสนีย์ หนึ่งในนักโทษปาปิญอง ได้ดำรงตำแหน่ง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยต่อมา
สลัดตะรุเตา
         
ปี พ.ศ.๒๔๘๗ เกิดสลัดตะรุเตาขึ้น เป็นที่ หวั่นเกรงและหวาดกลัวของผู้เดินทาง ผ่านน่านน้ำ ตะรุเตาอย่างมาก แม้จะมีการปราบปรามแต่ก็ไร้ผล
          การติดต่อลำบากยากเข็ญ ทุกข์ยาก เกิดขึ้นบนเกาะตะรุเตา ตะรุเตาเป็นสถานที่ ทรมาน จิตใจนักโทษอย่างแสนสาหัส และเจ็บปวดไปชั่วชีวิต เพราะพวกเขาถูกตัดขาดจาก โลกภายนอก นรกบนพื้นพิภพก็คือตะรุเตา สมัยนั้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ กำลังเกิดอยู่ นักโทษ ไม่อาจล่วงรู้ชะตากรรมของชาติบ้านเมือง ความอดอยาก หิวโหยได้ย่างกรายเข้าสู่นรกแห่ง อันดามันแล้ว ความเป็นอยู่ของนักโทษเลวลง ผู้คุมคิดไม่ซื่อมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง กักตุน อาหาร หยูกยา วัสดุเครื่องใช้ เพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก บ้างก็เอาไปขาย ใครไม่มี เงินซื้อก็ช่วยไม่ได้ อาหารการกินก็ไม่ได้แบ่งสัน ปันส่วนให้นักโทษ นักโทษเลยฆ่ากันตาย เพราะผิดใจกันเรื่องน้ำปลาก็มี เสื้อผ้าแต่งกันตามมีตามเกิด นอกจากนี้ผู้คุมยังนำเอายาเสพ ติด มาขายให้นักโทษ นักโทษติดยาเสพติดเกิดทะเลาะวิวาทฆ่ากันตายมากยิ่งขึ้น เพราะแย่ง ยาเสพติด ยิ่งกว่านั้นไข้มาลาเรียกลืนชีวิตนักโทษ คนแล้วคนเล่า ยารักษาหายากเพราะยาม สงคราม คนที่ตกอยู่ในสภาพนี้ย่อมต้องหาทางออก และทางออกที่ดีที่สุด คือ " ปล้น "
          ความคิดที่จะปล้นเรือสินค้าเกิดจากนักโทษทั่วไปมิใช่นักโทษการเมือง ขั้นแรกนัก โทษได้หาเรือลักลอบออกไปในทะเล แล้วไปขออาหารจากไต๋กงเรือเป็นการขอกินอย่างดื้อ ๆ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ได้มาแบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ผู้คุมและพัศดีไม่ทราบเรื่อง ขั้นต่อมาเมื่อขอบ่อย เข้าก็นึกกระดากใจ จึงใช้วิธีการปล้น แล้วนำมาซ่อนไว้ตามโขดหิน ผู้คุมเริ่มรู้แล้ว เจ้าทุกข์ ร้องเรียนไปยังตำรวจ หากมีหลักฐานผูกมัดนักโทษคนใดก็ถูกลงโทษ มีการห้ามปรามและลง โทษอย่างหนัก แต่นักโทษมิได้เกรงกลัว กลับหาวิธีการที่จะให้ผู้คุมเข้าไปมีส่วนด้วย คือนำสิน ค้าที่ได้มาส่วนหนึ่งเป็นของกำนัลแก่ผู้คุม พัศดี และตำรวจ สินค้าบางอย่างนำไปแลกเป็นเงิน ได้ ตอนนี้ผู้คุม ตำรวจเริ่มอยู่เฉย ไม่ห้ามปราม หุบปาก บางคนยอมขายได้แม้กระทั่งเกียรติ ยศ ชื่อเสียง และอุดมคติก็เพื่อเงินตัวเดียว
           พฤติการณ์ของโจรสลัดตะรุเตา เป็นที่เกรงขาม และหวาดกลัวของผู้เดินทางผ่าน น่านน้ำตะรุเตาอย่างมาก เมื่อปล้นแล้วก็ฆ่าโยนศพทิ้งทะเล หรือฆ่าแล้วเอาหินถ่วงทะเลให้ เป็นเหยื่อปลาฉลาม หากขัดขืนต่อสู้ลูกเรือและเจ้าของเรือกว่า ๕๐ ชีวิต ถูกฝังทิ้งลงทะเล ตัว เรือถูกเจาะให้จมลงทะเล ใคร ? ก่อให้เกิดคดีสะเทือนขวัญครั้งนี้ ถ้าไม่ใช่นักโทษตะรุเตา ร่วมมือกับตำรวจ ผู้คุม พัศดี และเจ้าพ่อแห่งตะรุเตา สินค้าทั้งปวงได้แก่ ข้าวสาร พริกแห้ง ถั่ว กระเทียม สบู่ เงิน ทองคำแท่ง ถูกนำไปจำหน่ายในเขตจังหวัดสตูล สร้างความร่ำรวยให้กับ เจ้าหน้าที่อย่างมากมาย อิทธิพลของกลุ่มโจรครอบคลุมไปทั่วจังหวัด มีเจ้าหน้าที่ร่วมมือกับ โจร ชาวบ้านร้องเรียน ไปส่วนกลาง แต่อิทธิพลและอำนาจสินบนทำให้ก๊กโจรยังลอยนวลอยู่

สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป ข้าราชการที่ทุจริต ถูกกลั่นแกล้ง โยกย้าย ขุนอภิพัฒน์ กระทำตนเป็นนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ คือช่วยเหลือข้าราชการด้วยกัน ก่อให้เกิดความ เกรงใจทำให้ ้กระบวนการค้าของหนีภาษีดำเนินไม่ได้ โชคเข้าข้างขุนอภิพัฒน์อย่างจัง ผู้บังคับการตำรวจ ภูธรจังหวัดสตูล คือ พันตำรวจตรี หลวงอนุมานขจัดเหตุ เป็นเพื่อนกันมาก่อนย้ายมาสตูลใน ระยะนั้นด้วย จึงเห็นโอกาสเหมาะ สำหรับการค้าของหนีภาษีและของโจร ขณะที่โจรสลัดตะรุ เตากำลัง อาละวาดหนักนั้น ก็มีโจรสลัดก๊กอื่นฉวยโอกาสปล้นด้วย โดยอ้างเป็นโจรสลัดตะรุ เตา แม้แต่ผู้รักษากฎหมายก็เข้าร่วมด้วยกับขบวนการปล้นดังกล่าว โจรสลัดถูกสวมรอยน่าน น้ำตะรุเตาจึงกลายเป็นที่นัดชุมนุมโจร เกิดเหตุตายไม่เว้นแต่ละวัน ไม่รู้ก๊กไหนเป็น ก๊กไหน ตำรวจทำอะไรไม่ได้ ระยะปี พ.ศ.๒๔๘๗ - ๒๔๘๘ จึงเป็นยุคมืดจริง ๆ ทะเลรอบเกาะตะรุ เตาแปดเปื้อนด้วยกลิ่นคาวเลือด เสียงคลื่นลมระคนด้วยเสียงปืน ฉลามร้ายอิ่มหมีพีมัน
           
เจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคนเริ่มมองเห็นว่า หากปล่อยโจรสลัดให้เป็นใหญ่เหนือทะเล อีกหน่อยทะเลหลวงจะไม่มีใครกล้าไปมาหาสู่ ขนสินค้าและจับปลา ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ๒ นาย ได้รายงานไปยัง พันตำรวจเอก บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจเขต ๙ จังหวัดสงขลา เล่าถึงเหตุการณ์ของโจรสลัดครอบครองอิทธิพล ที่โจรมีที่ตัวจังหวัด ท่านจึงรวบรวมหลักฐาน เท่าที่มีอยู่ ไปยังกรมตำรวจ และกรมราชทัณฑ์ เรื่องก็ยิ่งบานปลายออกไป อธิบดีทั้งสองกรม ได้รายงานให้รัฐมนตรีเป็น ผู้พิจารณาสั่งการ ตัวรัฐมนตรีเองกลับตัดสินไม่ได้ จึงต้องมีการ ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อตัดสินชี้ขาด ทางมลายูเองก็หาทางที่จะกำจัดโจรสลัด พ่อค้ามลายู ร้องเรียน ไปยังรัฐบาลอังกฤษ ขอกำลังทางเรือคุ้มกันเรือสินค้าของตน คือใช้เรือติดอาวุธคุ้ม กัน ฝ่ายโจรสลัดก็หันไปปล้นเฉพาะเรือที่มาจากพม่า ภูเก็ต กันตัง แทน ซึ่ง ผลก็ยังกระทบกระ เทือนมลายูเช่นเดิม
         
ขณะที่คณะรัฐมนตรีกำลังปรึกษาหารือกันว่าจะตัดสินปัญหาเรื่องเกาะตะรุเตา อย่าง ไรก็ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากมลายู คือ อังกฤษขอเสนอที่จะปราบปรามเอง ในที่สุดรัฐบาล ก็ยอม รับข้อเสนอโดยใช้ดอกเตอร์ วิบูลย์ ธรรมวิทย์ ข้าหลวงตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ เป็นตัวแทน ฝ่ายไทยไปร่วมประชุมที่มลายู เพื่อวางแผนทำลายรังโจรน่านน้ำตะรุเตา

อังกฤษยกพลขึ้นบก พ.ศ.๒๔๘๙
        
การยกพลขึ้นบกของอังกฤษ ถือว่าเป็นเรื่องลับที่สุด แม้แต่ พันตำรวจเอก บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ก็ไม่ทราบแผนการณ์ สำหรับตำรวจสตูลนั้น ไม่ต้องพูดถึง แต่แผนการยกพลขึ้นบก ของอังกฤษล่วงรู้เข้าหู โจรสลัดเข้าจนได้ เพราะมีโจรสลัดตะรุเตากลุ่มหนึ่งบังเอิญ เรือแตกไป ขึ้นทางฝั่งมลายู ทหารอังกฤษได้ช่วยชีวิตไว้ นักโทษบางคนพูดภาษามลายูได้ จึงรู้ว่าอังกฤษยก พล ขึ้นบกที่ตะรุเตา โจรสลัดคนหนึ่งรีบหนีมาฝั่งไทย แล้วรายงานให้ขุนอภิพัฒน์ทราบ ทันทีที่ ทราบข่าว ขุนอภิพัฒน์ และคณะ จึงรีบลงเกาะเพื่อทำลายหลักฐานของกลางต่าง ๆ ที่เผาได้ก็ เผา ที่เผาไม่ได้ก็ฝัง ทิ้งน้ำทิ้งทะเลก็มี
          
๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ พลจัตวา เซอร์เวย์ ได้นำเรือรบ ๒ ลำ พร้อมทหารอังกฤษ ๓๐๐ คน อาวุธครบมือ ยกพลขึ้นบกที่อ่าวตะโละวาว ทางฝั่งตะวันออกของเกาะตะรุเตา ไม่มี การต่อสู้ ไม่มีแม้กระทั่งเสียงปืนที่จะยิงโต้ตอบข่มขวัญ พวกพัศดี ผู้คุมนักโทษ ต่างก็คิดหลบ หนีเอาตัวรอดกัน บ้างก็เข้าป่าดง หนีลงเรือ ซุกซ่อนตามถ้ำหรือหุบเขาใกล้ ๆ อ่าวตะโละวาวขุน อภิพัฒน์สุรทัณฑ์ พัศดี ผู้คุม และนักโทษที่อยู่ในข่ายสงสัย ถูกจับได้บนเกาะ ได้ส่งให้นายแสวง ทัพนันทอง (ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล) ดำเนินการพิจารณาโทษต่อไป " คุกตะรุเตา " ก็ปิดฉากลงเมื่อ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ เมื่ออังกฤษถอนทหารกลับมลายู หลัง จากนั้นตะรุเตาก็เป็นเกาะร้าง ๑๐ ปี มีประชาชนเริ่มทยอยเข้าไปจับจองที่ดิน หักร้างถางพง ปลูกพืชชนิดต่าง ๆ จนเมื่อ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕ ได้ถอนการหวงห้ามของกรมราช ทัณฑ์ และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา เมื่อ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๗ กำหนดให้หมู่เกาะตะรุ ุเตา เกาะอาดัง - ราวี และเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ ๕๑ เกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
         
หลังจากเลิกใช้เกาะตะรุเตาเป็นสถานที่กักขังนักโทษแล้ว กรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้า ที่ไปสำรวจเพื่อดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และได้อพยพราษฎรที่เข้าไปทำมาหากิน อยู่ออกจากเกาะตะรุเตาโดยจ่ายเงินทดแทนให้ พร้อมทั้งสงวนเกาะหลีเป๊ะ ไว้เป็นที่อยู่อาศัย ของชาวเลเพียงเกาะเดียว ทางราชการได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ( National Park) เมื่อ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๗

เกาะตะรุเตาเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อเสียงทาง ด้านประวัติศาสตร์ และความสวยงามของธรรมชาติ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ห่างจากตัวเมืองสตูลประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากฝั่งที่ท่าเรือปากบารา 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตทิศเหนือจดอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทิศใต้จดทะเลที่เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสหพันธรัฐมาเลเซีย มีพื้นที่ทั้งเกาะและทะเลรวมกันประมาณ 1,490 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยหมู่เกาะใหญ่น้อย จำนวน 51 เกาะ มีเกาะขนาดใหญ่ 7 เกาะ ได้แก่ เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะกลาง เกาะบาตวง และเกาะบิสสี แบ่งออกเป็น 2 หมู่เกาะใหญ่ คือ หมู่เกาะตะรุเตา และหมู่เกาะอาดัง-ราวี ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2517 และ ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525 ให้เป็นมรดกแห่งอาเซียน (ASEAN Heritage Parks and Reserves) ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเดินทางท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เมษายน



ขอบคุณที่มา http://board.postjung.com/485667.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น