วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของบ้านทางภาคใต้





 บ้านทางภาคใต้มีลักษณะเหมือนกับบ้านไทยในภาคอื่นๆบางประการ เช่น ปลูกด้วยไม้บนเสาที่มีความสูงเฉลี่ยวกว่าคน ผนังทำด้วยไม้กระดาน วัสดุหลังคาเป็นวัสดุท้องถิ่น พื้นใต้ถุนบ้านโล่งใช้สำหรับพักผ่อน เก็บของหรือทำอาชีพเสริม

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติการใช้งานคฤหาสน์กูเด็น

ประวัติการใช้งานคฤหาสน์กูเด็นตามลำดับ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน



พ.ศ ๒๔๔๕ - พ.ศ ๒๔๗๕
เป็นบ้านพักของพระยาภูมนารถภักดี
เป็นศูนย์กลางการปกครอง
เจ้าเมืองคนต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้านครสวรรค์ศักดิพินิจพร้อมด้วยพระชายาเสด็จประทับแรม

พ.ศ ๒๔๘๓
ใช้เป็นที่รองรับจอมพล ป. พิบูลสงครามมาเยือนสตูล

พ.ศ ๒๔๘๔
เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒
หลังสงครามสงบใช้ทำสำนักงานเทศบาล

พ.ศ. ๒๔๙๐ - พ.ศ. ๒๕๐๖
เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล

พ.ศ. ๒๕๐๘ - พ.ศ. ๒๕๐๙
เป็นที่ทำการอำเภอเมืองสตูล

พ.ศ. ๒๕๐๙ ปลายปี
เป็นโรงเรียนเทศบาล
เป็นสำนักงานกองรักษาความมั่นคงภายใน

พ.ศ. ๒๕๓๒
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๔๑
ได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณพสถานแห่งชาติ เมื่อ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗





วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

จากอดีต จนถึงปัจจุบัน

ศาลาว่าการเมืองสตูล ปัจจุบันคือ ศาลากลางจังหวัดสตูล



สมาคมวัฒนธรรมหญิง ปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลสตูล



จวนพระยาภูมนารถภักดี ปัจจุบัน โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่



โรงพยาบาลสตูลหลังแรก ปัจจุบัน สาธารณะสุขจังหวัดสตูล



โรงเรียนสตูลวิทยาในอดีต ปัจจุบัน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

แหล่งข้อมูล จากพิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติ คฤหาสน์กูเด็น





วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

เงาะป่าหรืออีกอย่าง ซาไก

เงาะป่า หรือ ซาไก


   ความเป็นมา
             
                เงาะป่า หรือ ซาไก เป็นชนเผ่าดั้งเดิม หรือมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยตามแนวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขาสันกาลาคีรี และทิวเขาภูเก็ต ทิวเขาทั้งสามถือเป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้ ชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้ยึดครองเป็นเจ้าถิ่นมาช้านานแล้ว เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ปรากฎหลักฐานพอเชื่อถือได้ว่า  มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ ตามจังหวัดกระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง รวม ๙ จังหวัด ทุกวันนี้อาศัยอยู่ไม่กี่จังหวัด เช่น ตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส สงขลา สมัยก่อนทิวเขาเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์ ผลไม้ป่า สัตว์ป่า ทำให้พวกเงาะป่า หรือ ซาไก อยู่อย่างสะดวกสบาย พวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เดินทางเร่ร่อน ตามรอยต่อของจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา และเตลิดเปิดเปิงไปยะลา ข้ามเขตไปประเทศมาเลเซีย เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ลดลงเป็นอันมาก ชาวป่าไม่มีที่อยู่อาศัย กลุ่มใหญ่เข้าป่าไปอยู่มาเลเซีย เพราะ ป่ายังอุดมสมบูรณ์ กลุ่มหนึ่งกลายเป้นคนเมืองทางราชการจัดที่ให้ อาศัยเป็นหลักแหล่งที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
        ปัจจุบัน  เงาะป่า  หรือซาไกในจังหวัดสตูล  มี  ๓  จุด  พวกแรกอยู่อำเภอทุ่งหว้า
  ชุดที่ ๒ อยู่กิ่งอำเภอมะนัง  ชุดที่   ๓   อยู่น้ำตกปาหนัน  อำเภอควนโดน  
บางครั้งมีการอพยพไปอยู่อำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา บริเวณทุ่งมะปราง          

พวกเงาะป่า  หรือซาไก  มีเรียกกันหลายชื่อ  เช่น มาเลเซีย เรียกว่า "โอรัง อัสลี" 
แปลว่าคนพื้นเมือง นักมนุษยวิทยา เรียกว่า  
        ซาไก,สินอย,เซมัง  จะเรียกต่างกัน  รูปร่างค่อนข้างเตี้ย สูงราว ๑๔๐ - ๑๕๐ ซม.
 หญิงเตี้ยกว่าชาย ผิวดำค่อนข้างไหม้  ไม่ดำสนิท  กะโหลกศีรษะกว้าง
 ผมดำหยิกขมวดเป็นก้นหอยติดหนังศรีษะ หยิกฟู คิ้วโตดกหนา  นัยตาสีดำกลมโต  ขนตางอนยาว
  จมูกแบน  ปากกว้างริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง ตะโพกแฟบ นิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ แข็งแรงล่ำสัน
แบ่งได้ ๔ กลุ่ม