วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

เงาะป่าหรืออีกอย่าง ซาไก

เงาะป่า หรือ ซาไก


   ความเป็นมา
             
                เงาะป่า หรือ ซาไก เป็นชนเผ่าดั้งเดิม หรือมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยตามแนวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขาสันกาลาคีรี และทิวเขาภูเก็ต ทิวเขาทั้งสามถือเป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้ ชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้ยึดครองเป็นเจ้าถิ่นมาช้านานแล้ว เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ปรากฎหลักฐานพอเชื่อถือได้ว่า  มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ ตามจังหวัดกระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง รวม ๙ จังหวัด ทุกวันนี้อาศัยอยู่ไม่กี่จังหวัด เช่น ตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส สงขลา สมัยก่อนทิวเขาเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์ ผลไม้ป่า สัตว์ป่า ทำให้พวกเงาะป่า หรือ ซาไก อยู่อย่างสะดวกสบาย พวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เดินทางเร่ร่อน ตามรอยต่อของจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา และเตลิดเปิดเปิงไปยะลา ข้ามเขตไปประเทศมาเลเซีย เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ลดลงเป็นอันมาก ชาวป่าไม่มีที่อยู่อาศัย กลุ่มใหญ่เข้าป่าไปอยู่มาเลเซีย เพราะ ป่ายังอุดมสมบูรณ์ กลุ่มหนึ่งกลายเป้นคนเมืองทางราชการจัดที่ให้ อาศัยเป็นหลักแหล่งที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
        ปัจจุบัน  เงาะป่า  หรือซาไกในจังหวัดสตูล  มี  ๓  จุด  พวกแรกอยู่อำเภอทุ่งหว้า
  ชุดที่ ๒ อยู่กิ่งอำเภอมะนัง  ชุดที่   ๓   อยู่น้ำตกปาหนัน  อำเภอควนโดน  
บางครั้งมีการอพยพไปอยู่อำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา บริเวณทุ่งมะปราง          

พวกเงาะป่า  หรือซาไก  มีเรียกกันหลายชื่อ  เช่น มาเลเซีย เรียกว่า "โอรัง อัสลี" 
แปลว่าคนพื้นเมือง นักมนุษยวิทยา เรียกว่า  
        ซาไก,สินอย,เซมัง  จะเรียกต่างกัน  รูปร่างค่อนข้างเตี้ย สูงราว ๑๔๐ - ๑๕๐ ซม.
 หญิงเตี้ยกว่าชาย ผิวดำค่อนข้างไหม้  ไม่ดำสนิท  กะโหลกศีรษะกว้าง
 ผมดำหยิกขมวดเป็นก้นหอยติดหนังศรีษะ หยิกฟู คิ้วโตดกหนา  นัยตาสีดำกลมโต  ขนตางอนยาว
  จมูกแบน  ปากกว้างริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง ตะโพกแฟบ นิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ แข็งแรงล่ำสัน
แบ่งได้ ๔ กลุ่ม



  ๑. กลุ่มแต็นแอ้น อาศัยที่พัทลุง ตรัง สตูล
  ๒. กลุ่มกันซิว อยู่ยะลา
  ๓. กลุ่มเต๊ะเด๊ะ อำเภอรือเสาะนราธิวาส
  ๔. กลุ่มยะฮายย์ อำเภอแว้ง นราธิวาส
วิถีชีวิต 
    พวกชาวเงาะป่าเป็นตระกูลดำโดด  เช่นเดียวกับภาษาไทยดั้งเดิมไม่มีสระสูงต่ำ 
ปัจจุบันติดต่อโลกภายนอกมากขึ้น จึงมีภาษาเมืองปะปนจำนวนมาก
          กอดา = ผู้หญิง                 บิดา = ลูกดอก                  กรา = ลิง
          ตาโก๊ะ = เสื้อ                    เตาโว = ชะนี                     บะยง = พระจันทร์
          ซิใบ = ผ้าหม่ผู้หญิง          มอเจน = ทุเรียน                  เอย์ = พ่อ
การปรับตนในสังคมปัจจุบัน
          
          ปัจจุบันชาวเงาะป่า  หรือซาไก ในจังหวัดสตูลได้พัฒนาตนเองเป็นคนเมือง เช่น ลูกสาวแต่งงานกับชาวบ้านชาวเงาะป่า 
หรือ ซาไก เดินทางขายสมุนไพรในตลาดนัด พบปะผู้คนชาวเมือง ผู้ชายหัวหน้าชอบดื่มเหล้าขาว
 เมามายนอนกลิ้งตามบ้านเรือน  หรือร้านค้าในตลาด  พฤติกรรมที่เป็นคนป่าเปลี่ยนไป  สวมเสื้อยืด  นุ่งกางเกงยีน
 ดื่มน้ำจากขวดพลาสติก ซื้อข้าวห่อ พวกที่อยู่ยะลาพัฒนาขึ้นมาก เช่น ในบ้านที่ทางราชการจัดให้ 
มีไฟฟ้าใช้ หม้อข้าวไฟฟ้า ตู้เย็น พัดลง โทรทัศน์ มีเกือบทุกบ้าน ลูก ๆ เข้าเรียนหนังสือ

          

นับวันวิถีชีวิตของเงาะป่า  หรือซาไก   กำลังถูกกลืนโดยสังคมที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว


แหล่งที่มา : http ://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=24784.0


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น