วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นิทานพื้นบ้านภาคใต้


กินเหล้าแล้วอายุยืน

        นานมาแล้วมีเรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่งชอบกินเหล้าเป็นชีวิตจิตใจ งานการก็ไม่เคยนำพาเรื่องบุญกุศลก็ไม่เคยทำ แต่การทำบาปแกก็ไม่เคยทำเช่นกัน ครอบครัวของแก มีอยู่ด้วยกันสามคน คือ ตัวแกเองพร้อมด้วยเมียและลูกอีกคนหนึ่ง ชายคนชอบกินเหล้าผู้นี้คิดอยู่เสมอว่าก่อนที่แกจะตายลงนั้นก็ขอให้ลูกชายได้บวชเสียก่อน เพราะแกอยากเห็นชายผ้าเหลืองของลูก แต่ชายคนนั้นก็ได้ตายลงเสียก่อนที่จะได้บวชลูก เมื่ออายุของแกได้ห้าสิบปีพอดีก่อนที่จะตายนั้น แกได้สั่งให้ลูกเมียของแก เอาเหล้าใส่โลงไปด้วยสักสองสามขวดเผื่อหิวเหล้าขึ้นมาก็จะได้กินในปรโลก
เมื่อชายคนนั้นได้ลงไปอยู่ในเมืองนรกแล้ว ยมบาลก็ถามว่า
“ทำไมถึงได้ชอบกินเหล้านักล่ะ เหล้านั้นมันเอร็ดอร่อยมากหรือไรกัน”
แกก็ตอบออกไปว่า
“อันเหล้านั้น ถ้าได้กินมันเข้าไปแล้ว ก็จะ…….รู้รสชาติทันทีว่า ไม่มีอะไรแล้วในโลกมนุษย์จะอร่อยเท่า บอกไม่ถูกอธิบายไม่ได้ว่ามันมีรสชาติอย่างไร ต้องกินดูเองถึงจะ……รู้”
ยมบาลจึงพูดว่า
“ในเมืองนรกของเรานี้ไม่มี ไม่งั้นแล้วเราจะลองชิมดูว่ามันจะเอร็ดอร่อยเหมือนดังคำกล่าวของท่านจริงหรือไม่”
ชายผู้ชอบกินเหล้าคนนั้นจึงบอกกับยมบาลว่า “แกได้นำมันมาด้วย ถ้ายมบาลจะลองชิมดูก็มีให้ลอง”
ยมบาลจึงได้ชิมเหล้าของชายคนนั้นเข้าไป ชิมไปๆ ยมบาลก็ชักติดใจในรสชาติของมัน จึงได้ขอเหล้าชายคนนั้นกินจนหมดขวด ยมบาลจึงได้เมาขึ้นมาทันที เพราะไม่เคยกินเหล้ามาก่อน หรือเพราะคอยังอ่อนอยู่นั่นเอง ในเวลาต่อมา ยมบาลก็ได้ชอบพอกันกับชายคนนั้น จนกระทั่งสัญญาเป็นเพื่อนเกลอกัน แล้วบอกชายคนนั้นว่า
“ถ้าแกต้องการอะไร ที่พอผ่อนปรนกันแล้ว ก็ขอให้บอกมาเถิด เราจะช่วยเหลือ”
ชายคนนั้นจึงบอกยมบาลว่า
“ในชีวิตของแกไม่เคยได้ทำบุญอะไรเลย แกจึงอยากเห็นชายผ้าเหลืองของลูกชายสักครั้ง”
แล้วแกจึงขอร้องต่อยมบาลว่า
“ขอมีอายุต่อไปอีกแค่ปีเดียวเท่านั้น เพื่อบวชลูกชายได้หรือไม่”
ด้วย ความรักใคร่สงสารต่อชายผู้นั้นเป็นพิเศษ ยมบาลก็อนุญาตด้วยการต่ออายุให้ แล้วลงไว้ในบัญชีของยมโลก โดยยมบาลเพิ่มอายุให้อีกหนึ่งปี จึงได้เขียนเลข 1 ต่อจากเลข 50 ซึ่งเป็นอายุขัยของชายผู้นั้นลงในบัญชีทันที แต่ด้วยความเมาของยมบาลเอง จึงเลยลืมลบเลข 0 ออกเสียก่อน จึงกลายเป็นว่าชายคนนั้นมีอายุไปจนถึง 501 ปี
เมื่อยมบาลต่ออายุให้แล้ว ชายผู้ชอบกินเหล้าคนนั้นก็ได้ฟื้นกลับมีชีวิตขึ้นอีกครั้ง แกก็ได้จัดการบวชลูกชาย จนได้เห็นชายผ้าเหลืองสมความตั้งใจแล้ว แกก็รอวันตายของแกเรื่อยมาแต่ก็ไม่ตายสักที จนกระทั่งเมีย ลูก หลาน เหลน ได้พากันตายไปแล้วเกือบทุกคนแต่แกก็ยังไม่ตายอยู่นั่นเอง ทำให้ชายผู้นั้นมีชีวิตอยู่อย่างทรมานใจเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องอยู่ และเห็นคนที่แกรักตายจากไปทีละคนสองคนอยู่เสมอ
หัวข้อนี้โพสจากกระดาน สนธยาวาไรตี้
ที่มาของข้อมูล

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มรดกทางโบราณคดี


จังหวัดสตูล มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถาน และโบราณวัตถุอยู่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตามบริเวณที่ตั้งเมืองสตูล ได้มีชุมชนโบราณมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว
แหล่งโบราณคดีเขาโต๊ะพญาวัง
            เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภูเขาหินปูนลูกโดด ทางด้านตะวันออกเป็นเพิงผา มีถ้ำตื้น ๆ ได้พบเครื่องมือหิน ๒ ชิ้น ทางทิศใต้ของถ้ำกลาง
            วัตถุชิ้นที่ ๑  เป็นเครื่องมือสะเก็ดหิน ทำจากหินปูนเป็นรูปครึ่งวงกลม ค่อนข้างบาง มีความคมที่ส่วนโค้ง ลักษณะเป็นเครื่องมือสำหรับงานขุด ยาว ๗.๖ เซนติเมตร กว้าง ๕.๖ เซนติเมตร และหนา ๑.๕ เซนติเมตร
            วัตถุชิ้นที่ ๒  เป็นสะเก็ดหินปูนรูปหลายเหลี่ยมค่อนข้างบาง มีความคมหลายด้าน มีความยาว ๗.๑ เซนติเมตร กว้าง ๕.๗ เซนติเมตร หนา ๑.๓ เซนติเมตร
แหล่งโบราณคดีเขาโต๊ะนางดำ
            เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภูเขาหินปูน อยู่ในเขตตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า โบราณวัตถุที่พบ เป็นประเภทหิน และประเภทดินเผา
            ประเภทหิน  เป็นหินลับ ๕ ชิ้น ทำจากหินควอตซ์ และหินปูน ค้อนหิน ๒ ชิ้น ทำจากหินควอตซ์ และหินทราย สะเก็ดหิน เป็นสะเก็ดหินปูน และหินควอตซ์ที่แตกกะเทาะออกมาจากแกนหิน ก้อนหินรูปทรงหลายเหลี่ยม แต่ละด้านเป็นรอยตรงเรียบ
            ประเภทดินเผา  ได้พบเศษภาชนะดินเผา จำนวน ๑๔ ชิ้น แบ่งตามลักษณะการตกแต่งได้ ๓ แบบ คือ แบบเรียบ เนื้อหยาบ ไม่มีกรวดปน ไส้ในเป็นสีดำ แบบขัดมัน เนื้อหยาบ มีกรวดปน ไส้ในสีดำ แบบลายประทับ เนื้อหยาบ มีกรวดปน ไส้ในสีดำ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ย้อนอดีตคนจีนอพยบสู่เมืองสตูล

        บรรพบุรุษของชาวสตูลนอกจากจะเป็นเชื้อสายมลายูและ ชาวสยามแล้ว ยังมีคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้ หลักฐานจากบันทึกของร้อยโทเจมส์  โลว์ และ ร้อยเอกเฮ็นรี่ เบอร์นี่ ทูตชาวอังกฤษเดินทางผ่านตำบลสโตย - ละงู ระหว่างปี พ.ศ ๒๓๖๗ - ๒๓๖๘ ช่วงที่สตูลกลายเป็นเมืองร้างไม่มีผู้ปกครองนั้น รายงานว่าผู้คนที่อาศัยใกล้คลองมำบัง ประกอบด้วยคนเชื้อสาย มลายู สยาม และ จีน คนเชื้อสายมลายูมีมากที่สุด ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ ชาวสยามหมายถึงคนไทยภาคไต้ ซึ่งพื้นเพเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และ สงขลา ไม่เรียก คนไทย แต่ใช้คำว่า คนสยามบันทึกของทูตอังกฤษรายงานว่า มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ตามชุมชนมำบัง ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย อีกแห่งหนึ่งคือที่ท่าเรือละงู ก็มีชาวจีนกลุ่มน้อยประกอบอาชีพ ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณปากนำ้ำ หรือคลองละงู แสดงว่าคนจีนอพยบเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของเมืองไทรบุรี คือท้องที่ตำบลสโตย - ละงู ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย คือนับเวลากว่า ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
        ตามประวัติศาสตร์คนจีนอพยบมาจากแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งหลักแหล่งที่เมืองมะละกา ทางตอนใต้ของแหลมมาลายู ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นมะละกาเปิดเป็นเมืองท่าให้ชาวตะวันตก าหรับ อินเดีย และจีนเข้ามาค้าขายสินค้า ชาวจีนกลุ่มใหญ่เป็นเผ่าฮกเกี้ยนพื้นเพมาจากมณฑลฟูเจี้ยน             ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวัน จีนฮกเกี้ยนเมืองมะละกาสร้างฐานะได้อย่างรวดเร็ว นิยมแต่งงานกับชาวมลายูพื้นเมือง ถ้ามีลูกชายเรียกว่า บ้าบ๋า เป็นหญิงเรียกว่า โนนยา เมื่อพวกโปรตุเกสเข้ามาปกครองมะละกา สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เกิดมีการผสานวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโปรตุเกส
ที่เด่นชัดคือการสร้างอาคารแบบชิโนเปอร์จุกีส สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก หรือระหว่างจีนกับฝรั่งชาติโปรตุเกสนั่นเอง

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณี วัฒนธรรม เทศกาล จังหวัดสตูล



งานเทศกาล ประเพณี ประจำจังหวัดสตูล

1. งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูลเป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปี
2. งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูลจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 มีว่าวเข้าแข่งขันประมาณ 50 ตัว และได้มีการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ 4 ก.ม.
3. งานแข่งขันการตกปลา"ตะรุเตา - อาดัง ฟิชชิ่งคัพ" เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีการแห่ขบวนมัจฉา การประกวดหุ่นปลา และการแสดงศิลปพื้นบ้านของชาวสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี

วิถีชาวสตูล



ลักษณะ ภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ศาสนา ความเชื่อและสภาพสังคม ล้วนเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่น โดยเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวสตูลที่มีการประกอบอาชีพประมงเนื่องจากจังหวัด สตูลมีชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีป่าไม้และทรัพยากรมาก มาย ลักษณะบ้านเรือนผสมผสานแบบบ้านเรือนท้องถิ่นภาคใต้และไทยมุสลิม และความเป็นอยู่ของชาวเลที่เป็นคนท้องถิ่นสตูลกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเป็น ของตนเอง

การทำประมงของชาวสตูล
จังหวัด สตูลมีพื้นที่ชายฝั่งยาว 144.80 กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมงประมาณ 434 ตารามกิโลเมตร ระชากรประกอบอาชีพประมงประมาณ 4,675 ครัวเรือน ชาวประมงเหล่านี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพอันแสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ได้แก่

เหตุการณ์ที่สำคัญของจังหวัดสตูล

ตะรุเตาเรือนจำในอดีต
       เมื่อพูดถึงเกาะตะรุเตาทุกคนมักจะต้องคิดถึงดินแดนแห่งการกักกัน คุมขัง นักโทษ การเมือง และนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ใครที่เคยได้เคยดูภาพยนตร์เรื่อง " ตะรุเตา " หลายปีที่ผ่านมามาแล้วยังมีเจตคติที่ว่า ตะรุเตาเป็นดินแดนนรก เป็นคุกของนักโทษผู้คุมนักโทษ ขนหิน นักโทษถูกเฆี่ยนตี ดินแดนนี้คือ นรกแท้ ๆ ชุกชุมไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไข้ป่า มาลาเรีย ฉลามร้าย ผู้ใดเข้าไปแล้วยากแก่การหลบหนี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็น ถึงจุดนี้จึงใช้เกาะตะรุเตาเป็นจุดคุ้มกันนักโทษ
           
ปัจจุบันตะรุเตาได้รับการสนับสนุนให้เป็นอุทยานแห่งชาติอันล้ำค่าของอันดามัน บริเวณช่องแคบ มะละกา มหาสมุทรอินเดีย เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลของประเทศไทยที่ สวยงามมาก ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูลห่างจากตัวเมืองสตูลไปทาง ทิศ ตะวันตก ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร การเดินทางไปเกาะตะรุเตาง่ายและสะดวกมาก โดยนั่ง เรือจาก ปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตรงไปยังเกาะตะรุเตา หรือจากสตูลท่าเรือตำมะลัง ตรงไปยังเกาะตะรุเตาได้เลย
ตะรุเตาในอดีต          ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ คณะบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจ เกาะตะรุเตาเพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการ เวลา ๑๑ เดือน ผ่านไปงานบุกเบิกจึงสำเร็จลุล่วง
           ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางราชการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาให้ตะรุเตาเป็นเขต หวงห้ามไว้ใช้ในกรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกันนักโทษ หรือป้อมฝึกวิชาชีพ เกาะตะรุ เตามีทะเลอันกว้างใหญ่เป็นกำแพงกั้นตามธรรมชาติ ยากแก่การหลบหนี จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์แห่งตะรุเตา
           นิคมหรือป้อมฝึกอาชีพเกาะตะรุเตา มีฐานะเป็นกองผู้บัญชาการ มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ เป็นข้าราชการชั้นเอก ชื่อขุนอภิพัฒน์ สุรทัณฑ์ (เนื่อง มาสะวิสุทธิ์) หน่วยของ นิคมฝึกอาชีพบนเกาะตะรุเตา แบ่งเป็น ๓ แผนก คือ
           ๑. แผนกอำนวยการ
           ๒. แผนกงาน
           ๓. แผนกควบคุม
           แต่ละแผนกมีหัวหน้า คือ พัศดี รับผิดชอบ กองบัญชาการ ซึ่งเป็นที่ทำงานของขุน อภิพัฒน์ มี ๒ แห่ง ที่เกาะตะรุเตา บริเวณอ่าวตะโละวาว และที่จังหวัดสตูล ขุนอภิพัฒน์ มีร่าง อ้วนใหญ่ ผิวคล้ำ นัยน์ตาดุ ค่อนข้างนักเลง เหมาะสมแล้วที่เป็นผู้คุมนักโทษ            นักโทษที่ส่งไปควบคุมที่เกาะตะรุเตา มี ๒ พวก คือ นักโทษทั่วไป และนักโทษการ เมือง นักโทษทั่วไปส่งไปจากคุกต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีคดีอุกฉกรรจ์ ส่วนนักโทษการเมือง มีแนวคิดตรงข้ามกับรัฐบาล เป็นนักโทษ " กบฏบวรเดช " จากบางขวาง นักโทษทั้งสองกลุ่ม นี้มีความแตกต่างกันมากในด้านความคิด ความอ่าน จึงอยู่รวมกันไม่ได้
            
นักโทษการเมือง ถูกควบคุมตัวทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง ห่าง เกาะลังกาวี มาเลเซีย เพียง ๔ กิโลเมตร นักโทษทั่วไปถูกกักกันบริเวณอ่าว ตะโละวาว อยู่ ทาง ตอนเหนือตามแนวถนนที่นักโทษสร้าง ขึ้นราว ๑๐ กิโลเมตร บ้านนักโทษสร้างเป็นเรือน ขนาดใหญ่ พักรวมกันหลายคน ตามหลักฐานว่า มีนักโทษหญิงด้วย ประมาณ ๒๐ คนแต่กักกัน ให้อยู่พิเศษ มีการแบ่งย่อยเป็นแดน ๆ แต่ละแดนมีโรงครัวและที่กินอาหาร
            
บ้านผู้คุม พัศดี สร้างเป็นเรือนไม้ค่อนข้างถาวร บ้านพักผู้บัญชาการ ตั้งอยู่บนเนิน สูงตระหง่าน ห่างจากทะเลประมาณ ๘๐ เมตร
            
ชีวิตนักการเมืองไม่แน่นอนมีโชควาสนาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตมียศศักดิ์ แต่เมื่อตก อับก็อยู่ในคุกตาราง...นี่คือ การเมือง !
นักโทษการเมือง ที่ส่งไปคุมขัง ณ ตะรุเตา จากเรือนจำกลางบางขวาง ต้องคดีกบฏ บวรเดช มีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มรดกทางวัฒนธรรม

มรดกทางวัฒนธรรม
            มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล คล้ายกับมรดกทางวัฒนธรรมของ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาหารการกิน
            แบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ ชาวไทยพุทธ ชาวไทยอิสลาม และชาวจีน ในที่นี้จะกล่าวถึงอาหารที่ใช้ในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาของทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น
            อาหารในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาพุทธ  ในเทศกาลเดือนสิบของหวานจะมีขนมลา ขนมเจาะหู ขนมเทียน และขนมพอง ของคาวมี แกงไก่ใส่หน่อไม้ แกงส้ม แกงสมรม ส่วนผลไม้จะเป็นผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ลางสาด เงาะ ทุเรียน ฯลฯ
            อาหารในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม  อาหารที่นิยม ในงานบุญ และงาน แต่งงาน มีดังนี้
ของหวาน ได้แก่ ขนมกาเปด (โกยเปด) คล้ายกับทองม้วน ขนมบูหลู (ขนมไข่) ขนมโกยหยา (ขนมถั่วอัด) ขนมโกยจาไบ ขนมพริก ของคาว ได้แก่แกงแดง (แกงเผ็ด) แกงกุรม่า (แกงขาว) แกงปัจจาหัว ยำหอย อาจาด อาหารเหล่านี้จะทำกันเฉพาะในโอกาสพิเศษที่สำคัญ ๆ เท่านั้น เพราะมีวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยาก
            การปรุงอาหารมีลักษณะพิเศษคือ ใช้เครื่องเทศในอาหารคาวเกือบทุกชนิด ไม่ใช้น้ำปลาในการปรุงรส ใช้กะทิมะพร้าวเป็นเครื่องปรุง ใช้เนื้อล้วน ๆ ไม่ใช้ผัก และรสอาหารไม่จัด
            วิธีรับประทานอาหารของชาวไทยอิสลาม นิยมนั่งกับพื้นล้อมเป็นวง มีน้ำล้างมือ การรับประทานภายใจครอบครัวจะรับประทานพร้อมกัน เวลาในการรับประทานอาหาร จะสัมพันธ์กับการละหมาดด้วย ส่วนใหญ่จะละหมาดให้เสร็จก่อนแล้วจึงไปรับประทานอาหาร ส่วนการรับประทานอาหารในงานบุญนุหรี หรือในงานแต่งงาน จะแยกวงกันระหว่างชาย - หญิง ไม่รับประทานร่วมกัน
            ในการมาร่วมงาน แม่บ้านจะนำปิ่นโตหรือหม้อที่บรรจุข้าวสาร หรือน้ำตาลมาช่วยงาน เวลากลับเจ้าภาพจะแบ่งปันอาหารให้แขกนำกลับบ้านด้วย การเลี้ยงเจ้าภาพจะรับเลี้ยงตลอดวัน
            อาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน  ประเพณีการเซ่นไหว้ของชาวจีนยังคงปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัดปีละ ๓ ครั้ง คือ ในเทศกาลตรุษจีน เช็งเม้ง และสารทจีน อาหารที่ใช้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ นอกจากเหล้าขาว น้ำชา หมู เป็ด ไก่ และผลไม้แล้วยังมีของคาวหวานอีกหลายอย่าง อาหารคาวจะเป็นอาหารที่ปรุงแบบผัด และต้ม ไม่มีแกง เช่น ต้มพะโล้ ผัดเครื่องในไก่ใส่เห็ด และไข่นกกระทา ผัดยี่หู่ อันประกอบด้วย หมูสามชั้น ปลาหมึก กล่ำปลี และหัวมันแกว แกงจืด ฯลฯ อาหารไม่นิยมรสจัด ส่วนผลไม้ที่ใช้เซ่นไหว้ ได้แก่ องุ่น แอปเปิล สาลี่ ส้มเกลี้ยง ส้มโอ แตงโม สับปะรด เงาะ มะม่วง ละมุด ฯลฯ สำหรับของหวานจะได้แก่ ขนมกาเปด ขนมเข่ง ขนมปังเกด ขนมอาปบ ขนมเต่า เหนียวเขียว (ข้าวเหนียวอัด) ฯลฯ

นิทานพื้นบ้าน ตำนานภาคใต้ เรื่องขอนคลาน จังหวัดสตูล



                                              satun1 300x171 นิทานพื้นบ้าน ตำนานภาคใต้ เรื่องขอนคลาน จังหวัดสตูล
        ขอนคลาน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอทุ่งหว้า มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปจับปลาในทะเล 

หลังจากจับปลาได้พอสมควร จึงชวนกันไปพักผ่อนที่ชายหาดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีขอนไม้ขนาดใหญ่ตั้งวางอยู่ บางคนนำ

มะพร้าวอ่อนมาปอกกินบนขอนไม้ บางกลุ่มก่อไฟผิง ขณะที่ชาวประมงเอามีดสับบนขอนไม้และก่อไฟผิงนั้น ทำให้ขอน

ไม้นั้นเคลื่อนไปข้างหน้า ภาษาถิ่นใต้เรียกว่า “คลาน” ทำให้ชาวประมงเหล่านั้นแปลกใจ จึงร้องอุทานออกมาพร้อมกัน

ว่า “ขอนคลาน ขอนคลาน ขอนคลาน” ซึ่งแท้จริงแล้ว ขอนไม้นั้นไม่ใช่ ขอนไม้ตามที่เข้าใจกัน แต่เป็นงูขนาดใหญ่ 

ซึ่งนอนนานเกินไปจนตะไคร่น้ำจับหญ้าขึ้นเต็มไปหมด เมื่อได้รับความร้อน และถูกสับด้วยพร้า จึงเจ็บปวดและคลาน

จากไป นี่คือที่มาของ “บ้านขอนคลาน

แนวคิด
ตำนานขอนคลานเป็นการบอกที่มาของชื่อตำบลหนึ่ง ในอำเภอทุ่งหว้า

                               แหล่งที่มา  : http://www.kontaiclub.com/

ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล


ดอกกาหลง
ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล

                                        

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สตูล

ชื่อดอกไม้

ดอกกาหลง

ชื่อสามัญ

Galaong, Snowy Orchid Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia acuminata Linn.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

เสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย

ลักษณะทั่วไป

กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไปตามต้น ดอกขาวใหญ่ ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ดอกมี 6 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ช่อหนึ่งออกดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

แหล่งอ้างอิง :  www.panmai.com/PvTree/tr_58.shtml 

ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล




ต้นกระซิก


ต้นไม้ประจำจังหวัด


    

   สตูล

ชื่อพันธุ์ไม้

   กระซิก

ชื่อสามัญ

    Black-wood

ชื่อวิทยาศาสตร์       

Dalbergia parviflora Roxb.

วงศ์

PAPILIONACEAE

ชื่ออื่น

ครี้ สรี้ (สุราษฏร์ธานี) ซิก (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด เมล็ดรูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน

ขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง น้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ป่าโปร่งในที่ลุ่ม และตามชายห้วยภาคใต้

แหล่งอ้างอิง : www.panmai.com/PvTree/tr_58.shtml 

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาพบรรยากาศการไป ทัศนศึกษา ของ นักเรียนชั้นมัธมศึกษาปี่ที่ 6 โรงเรียนพิมาพิทยาสรรค์


     การไปทัศนศึกษาที่เกาะ ลิดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นแต่มันก็เป็นบรรยากาศที่ดี เพราะ นักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 6ก้กำลังจะจบอีกไม่กี่วันแล้ว ภาพและบรรยากาศเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าจดจำและสวยงามที่สุด


นักเรียนกำลังรอเพื่อขึ้นเรือ ไปเกาะลิดี



บรรยากาศขณะเตรียมของลงเรือ



เรื่อกลางทะเลสวยงามมาก


ความร่วมมือกันของ ม. 6/5

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เกาะลิดี


     เกาะลิดี ตั้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ประมาณ 5 กิโลเมตร และห่างจากท่าเรือปากบารา 7 กิโลเมตร มีหน้าผาและถ้ำ เป็นที่อาศัยของนกนางแอ่น 
เกาะลิดีมีเนื้อที่ประมาณ 2 ตารางกิโลเมตร มีหาดทรายขาวและมีเวิ้งอ่าวยื่นเข้าไปในตัวเกาะ ความลึก 3-5 เมตร เหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล เป็นมุมสงบที่น่าพักผ่อนของเกาะลิดี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ภต.2 (เกาะลิดี) 

     เกาะลิดี ประกอบด้วยเกาะสำคัญ 2 เกาะ คือ เกาะลิดีใหญ่กับเกาะลิดีน้อยขนาดไล่เลี่ยกันเรียกว่าเป็นเกาะแฝดก็ได้ และมีเกาะเล็กๆเสมือนบริวารตั้งอยู่ใกล้เคียงอีก 3 – 4 เกาะ โดยสภาพภูมิศาสตร์แล้วจัดอยู่ในหมู่เกาะเขาใหญ่ เกาะลิดีตั้งอยู่ในหมู่ที่ 4 ตำบลปากน้ำ อยู่ไม่ไกลจากอ่าวนุ่น ห่างจากฝั่งหมู่บ้านหัวหินประมาณ 1 กิโลเมตร เรือแล่นใช้เวลาไม่นานนัก 

     ลิดี เป็นภาษามลายูแปลว่า “ ไม้เรียว” เป็นเกาะที่มีนกนางแอ่นชุกชุม ทุกวันนี้อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ทางการได้ปลูกสร้างอาคารหน่วยพิทักษ์อุทยาน และที่พักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวไว้บนเกาะลิดีน้อย เสน่ห์ของเกาะลิดีอยู่ที่การเป็นเกาะคู่แฝด มีธรรมชาติที่หลากหลาย ได้แก่ หาดทราย ป่าไม้บนภูเขา ป่าชายเลน โขดหินที่มีรูปร่างประหลาดตามริมหาด เมื่อน้ำลดจะกลายเป็นทางเดินเท้าสามารถเดินชมเกาะต่างๆได้ 









ที่มาของแหล่งข้อมูล : http://travel.thaiza.com/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B5+%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B8%A5/184012/



วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัิติจังหวัดสตูล


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล  ในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยาและในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยดังกล่าวยังไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบใกล้ฝั่งทะเล

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์  สตูลเป็นเพียงตำบลซึ่งอยู่ในเขตเมืองไทรบุรี  ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเมืองไทรบุรี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก   รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าเมืองไทรบุรีชื่อตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ ถึงแก่กรรมน้องชายชื่อตนกูดีบาอุดดีน    ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมือง (รายามุดา) ได้เป็นเจ้าเมืองแทน  ต่อมาไม่นานนักก็ถึงแก่กรรมและไม่ปรากฏว่าตวนกูดี-มาอุดดีนมีบุตรหรือไม่  ต่อมาปรากฏว่าบุตรชายของตวนกูอับดุลละ  โมกุมรัมซะ จำนวน ๑๐ คน ซึ่งต่างมารดากันได้แย่งชิงกันเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์)  ซึ่งเป็นผู้กำกับหัวเมืองฝ่ายตะวันตก  จึงได้พิจารณานำตัวตวนกูปะแงรัน และตวนกูปัศนู ซึ่งเป็นบุตรของพระยาไทรบุรี (ตวนกูอับดุลละ โมกุมรัมซะ)     เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ณ กรุงเทพฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตวนกูปะแงรันซึ่งเป็นบุตรคนโตให้เป็นพระรัตนสงครามรามภักดีศรี    ศุลต่านมะหะหมัด รัตนราชบดินทร์ สุรินทวังษาพระยาไทรบุรี และทรงแต่งตั้งตวนกูปัศนู เป็นพระยาอภัยนุราช  ตำแหน่งรายามุดา (ผู้ว่าราชการเมือง)
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตน-โกสินทร์ มีข้าศึกยกตีเมืองถลางในปี พ.ศ. ๒๓๕๒ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) ได้ส่งกองทัพจำนวน ๒,๕๐๐ คน ไปช่วยรบกับข้าศึกที่เมืองถลาง และในปี พ.ศ. ๒๓๕๕ พระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน)    ได้ยกกองทัพไปตีได้เมือง แป-ระ ทำให้เมืองดังกล่าวเป็นประเทศราชขึ้นต่อกรุงเทพฯ  ด้วยความดีความชอบทั้งสองครั้งนี้   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ    เลื่อนยศพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เป็นเจ้าพระยาไทรบุรี
ต่อมาไม่นานนัก  เจ้าพระยาไทรบุรี (ตวนกูปะแงรัน) เกิดแตกร้าวกับพระยาอภัยนุราช   (ตวนกูปัศนู) ผู้เป็นรายามุดา  ปรากฏข้อความในหนังสือเก่าที่เมืองนครศรีธรรมราชว่าการแตกร้าวเกิดขึ้นเพราะพระยาอภัยนุราชขอเอาที่กวาลามุดาเป็นบ้านส่วย  เจ้าพระยาไทรบุรีไม่ยอมให้ที่ดังกล่าวจะให้ที่อื่นแทน พระยาอภัยนุราชไม่ยอมรับ และต่างฝ่ายก็ทำเรื่องราวกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพัทลุงเป็นข้าหลวงออกไปว่ากล่าวไกล่เกลี่ยเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๖ แต่เจ้าพระยาไทรบุรีกับพระยาอภัยนุราชไม่ปรองดองกัน  ในที่สุดจึงโปรดให้ย้าย        พระอภัยนุราชไปเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของเมืองไทรบุรี  และทรงตั้งตวนกูอิบราฮิมเป็นราคามุดาเมืองไทรบุรี  เหตุการณ์ที่เกิดแตกร้าวจึงสงบกันไป
นหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ ๒ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับเมืองไทรบุรีในครั้งนี้ไว้ว่า  “ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็นสองพวก คือพวกเจ้าพระยาไทรปะแงรัน พวก ๑ พวกพระยาอภัยนุราช พวก ๑ พวกพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช  โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราช ได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล  ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช  พวกเมืองสตูลคงจะมาฟังบังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทย     แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี  ก็ถึงแก่อนิจกรรมผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล  ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่  แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง  เข้าใจว่าเชื้อวงศ์ของพระยาอภัยนุราช (ปัศนู)    คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราชหรือยิ่งกว่านั้น”
ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๓ ได้มีข่าวเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ว่า ข้าศึกเตรียมกองทัพจะยกมาตีเมืองไทย และได้คิดชักชวนเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ให้เข้าเป็นพวกยกมาทำศึกอีกทางหนึ่งด้วย  จึงโปรดให้มีท้องตราสั่งออกไปให้สืบสวนและให้กองทัพเมืองนครศรีธรรมราช  เมืองสงขลา ไปตั้งต่อเรือที่เมืองสตูล เพื่อเป็นการคุมเมืองไทรบุรีไว้ด้วย
ในปีพุทธศักราช ๒๓๖๔ ตนกูม่อม ซึ่งเป็นน้องคนหนึ่งของเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน)  ได้เข้ามาฟ้องต่อเจ้าพระยานครศรีธรรมราชว่า  เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) เอาใจออกห่างและไป  เผื่อแผ่แก่ข้าศึก  จึงโปรดเกล้าให้มีตราลงไปหาตัวเจ้าพระยาไทรบุรีเข้ามาเพื่อไต่ถาม     เจ้าพระยาไทรบุรีได้ทราบท้องตราแล้วก็เลยตั้งแข็งเมือง ต้นไม้เงินต้นไม้ทองก็ไม่ส่งเข้าไปทูลเกล้าถวายตามกำหนด   จึงโปรดให้มีตราลงไปยังเมืองนครศรีธรรมราชว่า  เจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน)  เอาใจเผื่อแผ่แก่ข้าศึกเป็นแน่เลยจะละไว้ให้เมืองไทรบุรีเป็นไส้ศึกอีกทางหนึ่งไม่ได้  ให้พระยานครศรีธรรมราชยกกองทัพลงไปตีเมืองไทรบุรีเอาไว้ในอำนาจเสียให้สิทธิ์ขาด
ในเวลานั้น  พระยานครศรีธรรมราช ได้ต่อเรือรบเตรียมไว้ที่เมืองตรังและเมืองสตูลแล้ว  เมื่อได้รับท้องตราให้ไปตีเมืองไทรบุรี จึงได้เตรียมจัดกองทัพ และทำกิติศัพท์ให้ปรากฏว่าจะยกไปตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรี และได้สั่งให้เจ้าพระยาไทรบุรีเป็นกองลำเลียงส่งเสบียงอาหาร              แต่เจ้าพระยาไทรบุรีก็บิดพริ้วไม่ยอมส่งเสบียงอาหารมาให้  พระยานครศรีธรรมราชจึงได้ยกกองทัพบก  กองทัพเรือพร้อมด้วยกองทัพเมืองพัทลุง  และเมืองสงขลายกทางบกลงไปตีเมืองไทรบุรีพร้อมกัน     ได้สู้รบกันเล็กน้อย กองทัพพระยานครศรีธรรมราช  ก็ได้เมืองไทรบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๖๔                ส่วนเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) หลบหนีไปอยู่ที่เกาะหมาก (เกาะปีนัง) พระยานครศรีธรรมราชจึงให้พระยาภักดีบริรักษ์  (ชื่อ แสง  เป็นบุตรของพระยานครศรีธรรมราช) เป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรี และให้นายนุช มหาดเล็ก (เป็นบุตรอีกคนหนึ่งของพระยานครศรีธรรมราช) เป็นปลัดอยู่รักษาราชการที่เมืองไทรบุรี  ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง  พระภักดีบริรักษ์เป็นพระยาอภัยธิเบศร์ มหาประเทศราชธิบดินทร์ อินทรไอศวรรย์ ขัณฑเสมาตยาชิตสิทธิสงครามรามภักดี พิริยะพาหะ พระยาไทรบุรี และตั้งนายนุชมหาดเล็ก เป็นพระยาเสนานุชิต ตำแหน่งปลัดเมืองไทรบุรี เมืองไทรบุรีตั้งอยู่ในอำนาจควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่    นั้นมา
ในปีพุทธศักราช ๒๓๗๓ ตนกูเดน ซึ่งเป็นบุตรของตนกูรายา ผู้ซึ่งเป็นพี่ชายต่างมารดากันกับเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) ได้เที่ยวลอบเกลี้ยกล่อมผู้คนเข้าไปเป็นสมัครพรรคพวกได้มากแล้วก็ยกเข้าไปตีเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ เจ้าเมืองไทรบุรีและคนไทยในเมืองไทรบุรีต้องถอยไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพัทลุง  เจ้าพระยานครศรีธรรมราชทราบเรื่อง แล้วมีใบบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ  จึงโปรดให้ยกลงไป ๔ กอง คือ พระยาณรงค์ฤทธิโกษา คุมลงไปกองหนึ่ง พระยาราชวังสัน กองหนึ่ง พระยาพิชัยบุรินทรา กองหนึ่ง พระยาเพชรบุรี (ชื่อ ศุข ได้เป็นเจ้าพระยายมราชในรัชกาลที่ ๔) อีกกองหนึ่ง     กองทัพทั้ง ๔ กองนี้ ยกลงไปถึงเมืองสงขลาแล้วก็ได้ทราบความว่า เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชไปยังเมืองไทรบุรีแล้ว    ดังนั้นกองทัพกรุงเทพฯ  ทั้ง ๔ กอง จึงได้ยกไปทางบริเวณ ๗ หัวเมือง แต่กำลังไม่พอที่จะไปรักษาความสงบได้     เนื่องด้วยเมืองกลันตันและเมืองตรังกานู ได้ยกพวกขึ้นมาช่วยพวกบริเวณ ๗ หัวเมืองด้วย จึงได้มีใบบอกขอกำลังเพิ่มเติมจากกรุงเทพฯ อีก ได้โปรดให้เจ้าพระยาคลัง (ชื่อ ดิศ ได้เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาราชประยูรวงค์) ในรัชกาลที่ ๔ ซึ่งในครั้งนั้นดำรงตำแหน่งทั้งที่สมุหพระกลาโหมและกรมท่า เป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพเรือตามลงไปอีกทัพหนึ่ง
ฝ่ายเจ้าพระยานครศรีธรรมราช  ได้ยกกองทัพเมืองนครศรีธรรมราชลงไปยังเมืองไทรบุรี ได้สู้รบกับพวกตนกูเดน และกองทัพไทยได้เข้าล้อมพวกตนกูเดนไว้  ตนกูเดนกับพวกหัวหน้าเห็นว่าจะหนีไม่พ้นแน่ก็พากันฆ่าตัวตาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราชได้เมืองไทรบุรีกลับมาเป็นของไทยดังเดิม

          ในปีพุทธศักราช ๒๓๘๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ปรากฏว่าได้เกิดความยุ่งยากขึ้นอีกครั้งหนึ่งในเมืองไทรบุรีเนื่องจากตนกูมะหะหมัดสหัส ตนกูอับดุลละ ซึ่งเป็นหลานเจ้าพระยาไทรบุรี (ปะแงรัน) และได้หลบหนีไปเป็นสลัดอยู่ในทะเลฝ่ายตะวันตก ได้กลับยกพวกเข้ามาคบคิดกับหวันมาลี ซึ่งเป็นหัวหน้าสลัดอยู่ที่เกาะยาว แขวงเมืองภูเก็ต เที่ยวชักชวนผู้คนเข้ามาเป็นพวกได้จำนวนมากขึ้นแล้ว จึงได้ยกพวกเข้ามาตีเมืองไทรบุรีอีก       ในขณะนั้นพระยาอภัย-ธิเบศร์ (แสง) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองไทรบุรีกับพระยาเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรีเป็น บุตรเจ้าพระยานครศรีธรรมราชเป็นผู้รักษาเมืองไทรบุรีอยู่และเห็นว่าจะอยู่รักษาเมืองไว้มิได้ จึงต้องถอยมาตั้งมั่นอยู่ ณ เมืองพัทลุง แล้วมีหนังสือบอกเข้ามายังกรุงเทพฯ

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของบ้านทางภาคใต้





 บ้านทางภาคใต้มีลักษณะเหมือนกับบ้านไทยในภาคอื่นๆบางประการ เช่น ปลูกด้วยไม้บนเสาที่มีความสูงเฉลี่ยวกว่าคน ผนังทำด้วยไม้กระดาน วัสดุหลังคาเป็นวัสดุท้องถิ่น พื้นใต้ถุนบ้านโล่งใช้สำหรับพักผ่อน เก็บของหรือทำอาชีพเสริม

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติการใช้งานคฤหาสน์กูเด็น

ประวัติการใช้งานคฤหาสน์กูเด็นตามลำดับ ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน



พ.ศ ๒๔๔๕ - พ.ศ ๒๔๗๕
เป็นบ้านพักของพระยาภูมนารถภักดี
เป็นศูนย์กลางการปกครอง
เจ้าเมืองคนต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้านครสวรรค์ศักดิพินิจพร้อมด้วยพระชายาเสด็จประทับแรม

พ.ศ ๒๔๘๓
ใช้เป็นที่รองรับจอมพล ป. พิบูลสงครามมาเยือนสตูล

พ.ศ ๒๔๘๔
เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒
หลังสงครามสงบใช้ทำสำนักงานเทศบาล

พ.ศ. ๒๔๙๐ - พ.ศ. ๒๕๐๖
เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล

พ.ศ. ๒๕๐๘ - พ.ศ. ๒๕๐๙
เป็นที่ทำการอำเภอเมืองสตูล

พ.ศ. ๒๕๐๙ ปลายปี
เป็นโรงเรียนเทศบาล
เป็นสำนักงานกองรักษาความมั่นคงภายใน

พ.ศ. ๒๕๓๒
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๔๑
ได้รับการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณพสถานแห่งชาติ เมื่อ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗





วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

จากอดีต จนถึงปัจจุบัน

ศาลาว่าการเมืองสตูล ปัจจุบันคือ ศาลากลางจังหวัดสตูล



สมาคมวัฒนธรรมหญิง ปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลสตูล



จวนพระยาภูมนารถภักดี ปัจจุบัน โรงแรมพินนาเคิลวังใหม่



โรงพยาบาลสตูลหลังแรก ปัจจุบัน สาธารณะสุขจังหวัดสตูล



โรงเรียนสตูลวิทยาในอดีต ปัจจุบัน โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์

แหล่งข้อมูล จากพิพิธฑภัณฑสถานแห่งชาติ คฤหาสน์กูเด็น





วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

เงาะป่าหรืออีกอย่าง ซาไก

เงาะป่า หรือ ซาไก


   ความเป็นมา
             
                เงาะป่า หรือ ซาไก เป็นชนเผ่าดั้งเดิม หรือมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยตามแนวเขานครศรีธรรมราช ทิวเขาสันกาลาคีรี และทิวเขาภูเก็ต ทิวเขาทั้งสามถือเป็นกระดูกสันหลังของภาคใต้ ชาวพื้นเมืองกลุ่มนี้ยึดครองเป็นเจ้าถิ่นมาช้านานแล้ว เมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ปรากฎหลักฐานพอเชื่อถือได้ว่า  มีชาวพื้นเมืองอาศัยอยู่ ตามจังหวัดกระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง รวม ๙ จังหวัด ทุกวันนี้อาศัยอยู่ไม่กี่จังหวัด เช่น ตรัง สตูล พัทลุง ยะลา นราธิวาส สงขลา สมัยก่อนทิวเขาเหล่านี้มีความอุดมสมบูรณ์ ผลไม้ป่า สัตว์ป่า ทำให้พวกเงาะป่า หรือ ซาไก อยู่อย่างสะดวกสบาย พวกนี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เดินทางเร่ร่อน ตามรอยต่อของจังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา และเตลิดเปิดเปิงไปยะลา ข้ามเขตไปประเทศมาเลเซีย เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ความอุดมสมบูรณ์ลดลงเป็นอันมาก ชาวป่าไม่มีที่อยู่อาศัย กลุ่มใหญ่เข้าป่าไปอยู่มาเลเซีย เพราะ ป่ายังอุดมสมบูรณ์ กลุ่มหนึ่งกลายเป้นคนเมืองทางราชการจัดที่ให้ อาศัยเป็นหลักแหล่งที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด
        ปัจจุบัน  เงาะป่า  หรือซาไกในจังหวัดสตูล  มี  ๓  จุด  พวกแรกอยู่อำเภอทุ่งหว้า
  ชุดที่ ๒ อยู่กิ่งอำเภอมะนัง  ชุดที่   ๓   อยู่น้ำตกปาหนัน  อำเภอควนโดน  
บางครั้งมีการอพยพไปอยู่อำเภอรัตภูมิ  จังหวัดสงขลา บริเวณทุ่งมะปราง          

พวกเงาะป่า  หรือซาไก  มีเรียกกันหลายชื่อ  เช่น มาเลเซีย เรียกว่า "โอรัง อัสลี" 
แปลว่าคนพื้นเมือง นักมนุษยวิทยา เรียกว่า  
        ซาไก,สินอย,เซมัง  จะเรียกต่างกัน  รูปร่างค่อนข้างเตี้ย สูงราว ๑๔๐ - ๑๕๐ ซม.
 หญิงเตี้ยกว่าชาย ผิวดำค่อนข้างไหม้  ไม่ดำสนิท  กะโหลกศีรษะกว้าง
 ผมดำหยิกขมวดเป็นก้นหอยติดหนังศรีษะ หยิกฟู คิ้วโตดกหนา  นัยตาสีดำกลมโต  ขนตางอนยาว
  จมูกแบน  ปากกว้างริมฝีปากหนา ฟันซี่โต ใบหูเล็ก ท้องป่อง ตะโพกแฟบ นิ้วมือนิ้วเท้าใหญ่ แข็งแรงล่ำสัน
แบ่งได้ ๔ กลุ่ม