วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

นิทานพื้นบ้านภาคใต้


กินเหล้าแล้วอายุยืน

        นานมาแล้วมีเรื่องเล่าว่า ชายคนหนึ่งชอบกินเหล้าเป็นชีวิตจิตใจ งานการก็ไม่เคยนำพาเรื่องบุญกุศลก็ไม่เคยทำ แต่การทำบาปแกก็ไม่เคยทำเช่นกัน ครอบครัวของแก มีอยู่ด้วยกันสามคน คือ ตัวแกเองพร้อมด้วยเมียและลูกอีกคนหนึ่ง ชายคนชอบกินเหล้าผู้นี้คิดอยู่เสมอว่าก่อนที่แกจะตายลงนั้นก็ขอให้ลูกชายได้บวชเสียก่อน เพราะแกอยากเห็นชายผ้าเหลืองของลูก แต่ชายคนนั้นก็ได้ตายลงเสียก่อนที่จะได้บวชลูก เมื่ออายุของแกได้ห้าสิบปีพอดีก่อนที่จะตายนั้น แกได้สั่งให้ลูกเมียของแก เอาเหล้าใส่โลงไปด้วยสักสองสามขวดเผื่อหิวเหล้าขึ้นมาก็จะได้กินในปรโลก
เมื่อชายคนนั้นได้ลงไปอยู่ในเมืองนรกแล้ว ยมบาลก็ถามว่า
“ทำไมถึงได้ชอบกินเหล้านักล่ะ เหล้านั้นมันเอร็ดอร่อยมากหรือไรกัน”
แกก็ตอบออกไปว่า
“อันเหล้านั้น ถ้าได้กินมันเข้าไปแล้ว ก็จะ…….รู้รสชาติทันทีว่า ไม่มีอะไรแล้วในโลกมนุษย์จะอร่อยเท่า บอกไม่ถูกอธิบายไม่ได้ว่ามันมีรสชาติอย่างไร ต้องกินดูเองถึงจะ……รู้”
ยมบาลจึงพูดว่า
“ในเมืองนรกของเรานี้ไม่มี ไม่งั้นแล้วเราจะลองชิมดูว่ามันจะเอร็ดอร่อยเหมือนดังคำกล่าวของท่านจริงหรือไม่”
ชายผู้ชอบกินเหล้าคนนั้นจึงบอกกับยมบาลว่า “แกได้นำมันมาด้วย ถ้ายมบาลจะลองชิมดูก็มีให้ลอง”
ยมบาลจึงได้ชิมเหล้าของชายคนนั้นเข้าไป ชิมไปๆ ยมบาลก็ชักติดใจในรสชาติของมัน จึงได้ขอเหล้าชายคนนั้นกินจนหมดขวด ยมบาลจึงได้เมาขึ้นมาทันที เพราะไม่เคยกินเหล้ามาก่อน หรือเพราะคอยังอ่อนอยู่นั่นเอง ในเวลาต่อมา ยมบาลก็ได้ชอบพอกันกับชายคนนั้น จนกระทั่งสัญญาเป็นเพื่อนเกลอกัน แล้วบอกชายคนนั้นว่า
“ถ้าแกต้องการอะไร ที่พอผ่อนปรนกันแล้ว ก็ขอให้บอกมาเถิด เราจะช่วยเหลือ”
ชายคนนั้นจึงบอกยมบาลว่า
“ในชีวิตของแกไม่เคยได้ทำบุญอะไรเลย แกจึงอยากเห็นชายผ้าเหลืองของลูกชายสักครั้ง”
แล้วแกจึงขอร้องต่อยมบาลว่า
“ขอมีอายุต่อไปอีกแค่ปีเดียวเท่านั้น เพื่อบวชลูกชายได้หรือไม่”
ด้วย ความรักใคร่สงสารต่อชายผู้นั้นเป็นพิเศษ ยมบาลก็อนุญาตด้วยการต่ออายุให้ แล้วลงไว้ในบัญชีของยมโลก โดยยมบาลเพิ่มอายุให้อีกหนึ่งปี จึงได้เขียนเลข 1 ต่อจากเลข 50 ซึ่งเป็นอายุขัยของชายผู้นั้นลงในบัญชีทันที แต่ด้วยความเมาของยมบาลเอง จึงเลยลืมลบเลข 0 ออกเสียก่อน จึงกลายเป็นว่าชายคนนั้นมีอายุไปจนถึง 501 ปี
เมื่อยมบาลต่ออายุให้แล้ว ชายผู้ชอบกินเหล้าคนนั้นก็ได้ฟื้นกลับมีชีวิตขึ้นอีกครั้ง แกก็ได้จัดการบวชลูกชาย จนได้เห็นชายผ้าเหลืองสมความตั้งใจแล้ว แกก็รอวันตายของแกเรื่อยมาแต่ก็ไม่ตายสักที จนกระทั่งเมีย ลูก หลาน เหลน ได้พากันตายไปแล้วเกือบทุกคนแต่แกก็ยังไม่ตายอยู่นั่นเอง ทำให้ชายผู้นั้นมีชีวิตอยู่อย่างทรมานใจเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นต้องอยู่ และเห็นคนที่แกรักตายจากไปทีละคนสองคนอยู่เสมอ
หัวข้อนี้โพสจากกระดาน สนธยาวาไรตี้
ที่มาของข้อมูล

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มรดกทางโบราณคดี


จังหวัดสตูล มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถาน และโบราณวัตถุอยู่ไม่มากนัก อย่างไรก็ตามบริเวณที่ตั้งเมืองสตูล ได้มีชุมชนโบราณมาอาศัยอยู่ก่อนแล้ว
แหล่งโบราณคดีเขาโต๊ะพญาวัง
            เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นภูเขาหินปูนลูกโดด ทางด้านตะวันออกเป็นเพิงผา มีถ้ำตื้น ๆ ได้พบเครื่องมือหิน ๒ ชิ้น ทางทิศใต้ของถ้ำกลาง
            วัตถุชิ้นที่ ๑  เป็นเครื่องมือสะเก็ดหิน ทำจากหินปูนเป็นรูปครึ่งวงกลม ค่อนข้างบาง มีความคมที่ส่วนโค้ง ลักษณะเป็นเครื่องมือสำหรับงานขุด ยาว ๗.๖ เซนติเมตร กว้าง ๕.๖ เซนติเมตร และหนา ๑.๕ เซนติเมตร
            วัตถุชิ้นที่ ๒  เป็นสะเก็ดหินปูนรูปหลายเหลี่ยมค่อนข้างบาง มีความคมหลายด้าน มีความยาว ๗.๑ เซนติเมตร กว้าง ๕.๗ เซนติเมตร หนา ๑.๓ เซนติเมตร
แหล่งโบราณคดีเขาโต๊ะนางดำ
            เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นภูเขาหินปูน อยู่ในเขตตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า โบราณวัตถุที่พบ เป็นประเภทหิน และประเภทดินเผา
            ประเภทหิน  เป็นหินลับ ๕ ชิ้น ทำจากหินควอตซ์ และหินปูน ค้อนหิน ๒ ชิ้น ทำจากหินควอตซ์ และหินทราย สะเก็ดหิน เป็นสะเก็ดหินปูน และหินควอตซ์ที่แตกกะเทาะออกมาจากแกนหิน ก้อนหินรูปทรงหลายเหลี่ยม แต่ละด้านเป็นรอยตรงเรียบ
            ประเภทดินเผา  ได้พบเศษภาชนะดินเผา จำนวน ๑๔ ชิ้น แบ่งตามลักษณะการตกแต่งได้ ๓ แบบ คือ แบบเรียบ เนื้อหยาบ ไม่มีกรวดปน ไส้ในเป็นสีดำ แบบขัดมัน เนื้อหยาบ มีกรวดปน ไส้ในสีดำ แบบลายประทับ เนื้อหยาบ มีกรวดปน ไส้ในสีดำ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ย้อนอดีตคนจีนอพยบสู่เมืองสตูล

        บรรพบุรุษของชาวสตูลนอกจากจะเป็นเชื้อสายมลายูและ ชาวสยามแล้ว ยังมีคนเชื้อสายจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองนี้ หลักฐานจากบันทึกของร้อยโทเจมส์  โลว์ และ ร้อยเอกเฮ็นรี่ เบอร์นี่ ทูตชาวอังกฤษเดินทางผ่านตำบลสโตย - ละงู ระหว่างปี พ.ศ ๒๓๖๗ - ๒๓๖๘ ช่วงที่สตูลกลายเป็นเมืองร้างไม่มีผู้ปกครองนั้น รายงานว่าผู้คนที่อาศัยใกล้คลองมำบัง ประกอบด้วยคนเชื้อสาย มลายู สยาม และ จีน คนเชื้อสายมลายูมีมากที่สุด ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ ชาวสยามหมายถึงคนไทยภาคไต้ ซึ่งพื้นเพเป็นชาวเมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง และ สงขลา ไม่เรียก คนไทย แต่ใช้คำว่า คนสยามบันทึกของทูตอังกฤษรายงานว่า มีคนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ตามชุมชนมำบัง ประกอบอาชีพทำนาและค้าขาย อีกแห่งหนึ่งคือที่ท่าเรือละงู ก็มีชาวจีนกลุ่มน้อยประกอบอาชีพ ตั้งถิ่นฐานที่บริเวณปากนำ้ำ หรือคลองละงู แสดงว่าคนจีนอพยบเข้ามาตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของเมืองไทรบุรี คือท้องที่ตำบลสโตย - ละงู ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หรือตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย คือนับเวลากว่า ๒๐๐ ปีล่วงมาแล้ว
        ตามประวัติศาสตร์คนจีนอพยบมาจากแผ่นดินใหญ่ เข้ามาตั้งหลักแหล่งที่เมืองมะละกา ทางตอนใต้ของแหลมมาลายู ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยนั้นมะละกาเปิดเป็นเมืองท่าให้ชาวตะวันตก าหรับ อินเดีย และจีนเข้ามาค้าขายสินค้า ชาวจีนกลุ่มใหญ่เป็นเผ่าฮกเกี้ยนพื้นเพมาจากมณฑลฟูเจี้ยน             ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามกับเกาะไต้หวัน จีนฮกเกี้ยนเมืองมะละกาสร้างฐานะได้อย่างรวดเร็ว นิยมแต่งงานกับชาวมลายูพื้นเมือง ถ้ามีลูกชายเรียกว่า บ้าบ๋า เป็นหญิงเรียกว่า โนนยา เมื่อพวกโปรตุเกสเข้ามาปกครองมะละกา สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ เกิดมีการผสานวัฒนธรรมระหว่างจีนกับโปรตุเกส
ที่เด่นชัดคือการสร้างอาคารแบบชิโนเปอร์จุกีส สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันออกกับตะวันตก หรือระหว่างจีนกับฝรั่งชาติโปรตุเกสนั่นเอง

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณี วัฒนธรรม เทศกาล จังหวัดสตูล



งานเทศกาล ประเพณี ประจำจังหวัดสตูล

1. งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูลเป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปี
2. งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูลจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 มีว่าวเข้าแข่งขันประมาณ 50 ตัว และได้มีการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ 4 ก.ม.
3. งานแข่งขันการตกปลา"ตะรุเตา - อาดัง ฟิชชิ่งคัพ" เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีการแห่ขบวนมัจฉา การประกวดหุ่นปลา และการแสดงศิลปพื้นบ้านของชาวสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี

วิถีชาวสตูล



ลักษณะ ภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ศาสนา ความเชื่อและสภาพสังคม ล้วนเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของบุคคลในท้องถิ่น โดยเห็นได้จากวิถีชีวิตของชาวสตูลที่มีการประกอบอาชีพประมงเนื่องจากจังหวัด สตูลมีชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ มีการทำหัตถกรรมพื้นบ้านด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีป่าไม้และทรัพยากรมาก มาย ลักษณะบ้านเรือนผสมผสานแบบบ้านเรือนท้องถิ่นภาคใต้และไทยมุสลิม และความเป็นอยู่ของชาวเลที่เป็นคนท้องถิ่นสตูลกลุ่มหนึ่งที่มีความเชื่อเป็น ของตนเอง

การทำประมงของชาวสตูล
จังหวัด สตูลมีพื้นที่ชายฝั่งยาว 144.80 กิโลเมตร มีพื้นที่ทำการประมงประมาณ 434 ตารามกิโลเมตร ระชากรประกอบอาชีพประมงประมาณ 4,675 ครัวเรือน ชาวประมงเหล่านี้ได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้สำหรับประกอบอาชีพอันแสดงให้ เห็นถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจน ได้แก่

เหตุการณ์ที่สำคัญของจังหวัดสตูล

ตะรุเตาเรือนจำในอดีต
       เมื่อพูดถึงเกาะตะรุเตาทุกคนมักจะต้องคิดถึงดินแดนแห่งการกักกัน คุมขัง นักโทษ การเมือง และนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ใครที่เคยได้เคยดูภาพยนตร์เรื่อง " ตะรุเตา " หลายปีที่ผ่านมามาแล้วยังมีเจตคติที่ว่า ตะรุเตาเป็นดินแดนนรก เป็นคุกของนักโทษผู้คุมนักโทษ ขนหิน นักโทษถูกเฆี่ยนตี ดินแดนนี้คือ นรกแท้ ๆ ชุกชุมไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ ไข้ป่า มาลาเรีย ฉลามร้าย ผู้ใดเข้าไปแล้วยากแก่การหลบหนี กรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทยได้เล็งเห็น ถึงจุดนี้จึงใช้เกาะตะรุเตาเป็นจุดคุ้มกันนักโทษ
           
ปัจจุบันตะรุเตาได้รับการสนับสนุนให้เป็นอุทยานแห่งชาติอันล้ำค่าของอันดามัน บริเวณช่องแคบ มะละกา มหาสมุทรอินเดีย เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลของประเทศไทยที่ สวยงามมาก ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมือง จังหวัดสตูลห่างจากตัวเมืองสตูลไปทาง ทิศ ตะวันตก ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร การเดินทางไปเกาะตะรุเตาง่ายและสะดวกมาก โดยนั่ง เรือจาก ปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ตรงไปยังเกาะตะรุเตา หรือจากสตูลท่าเรือตำมะลัง ตรงไปยังเกาะตะรุเตาได้เลย
ตะรุเตาในอดีต          ในปี พ.ศ.๒๔๘๐ คณะบุกเบิกของกรมราชทัณฑ์ กระทรวงมหาดไทย ได้สำรวจ เกาะตะรุเตาเพื่อจัดเป็นทัณฑสถาน โดยฟันฝ่าอุปสรรคทางธรรมชาตินานัปการ เวลา ๑๑ เดือน ผ่านไปงานบุกเบิกจึงสำเร็จลุล่วง
           ในปี พ.ศ.๒๔๘๒ ทางราชการประกาศใช้ พระราชกฤษฎีกาให้ตะรุเตาเป็นเขต หวงห้ามไว้ใช้ในกรมราชทัณฑ์ เพื่อใช้เป็นสถานที่กักกันนักโทษ หรือป้อมฝึกวิชาชีพ เกาะตะรุ เตามีทะเลอันกว้างใหญ่เป็นกำแพงกั้นตามธรรมชาติ ยากแก่การหลบหนี จุดนี้เป็นจุดเริ่มต้น ประวัติศาสตร์แห่งตะรุเตา
           นิคมหรือป้อมฝึกอาชีพเกาะตะรุเตา มีฐานะเป็นกองผู้บัญชาการ มีตำแหน่งเป็น ผู้อำนวยการ เป็นข้าราชการชั้นเอก ชื่อขุนอภิพัฒน์ สุรทัณฑ์ (เนื่อง มาสะวิสุทธิ์) หน่วยของ นิคมฝึกอาชีพบนเกาะตะรุเตา แบ่งเป็น ๓ แผนก คือ
           ๑. แผนกอำนวยการ
           ๒. แผนกงาน
           ๓. แผนกควบคุม
           แต่ละแผนกมีหัวหน้า คือ พัศดี รับผิดชอบ กองบัญชาการ ซึ่งเป็นที่ทำงานของขุน อภิพัฒน์ มี ๒ แห่ง ที่เกาะตะรุเตา บริเวณอ่าวตะโละวาว และที่จังหวัดสตูล ขุนอภิพัฒน์ มีร่าง อ้วนใหญ่ ผิวคล้ำ นัยน์ตาดุ ค่อนข้างนักเลง เหมาะสมแล้วที่เป็นผู้คุมนักโทษ            นักโทษที่ส่งไปควบคุมที่เกาะตะรุเตา มี ๒ พวก คือ นักโทษทั่วไป และนักโทษการ เมือง นักโทษทั่วไปส่งไปจากคุกต่าง ๆ ในประเทศไทยที่มีคดีอุกฉกรรจ์ ส่วนนักโทษการเมือง มีแนวคิดตรงข้ามกับรัฐบาล เป็นนักโทษ " กบฏบวรเดช " จากบางขวาง นักโทษทั้งสองกลุ่ม นี้มีความแตกต่างกันมากในด้านความคิด ความอ่าน จึงอยู่รวมกันไม่ได้
            
นักโทษการเมือง ถูกควบคุมตัวทางตอนใต้ของเกาะ บริเวณอ่าวตะโละอุดัง ห่าง เกาะลังกาวี มาเลเซีย เพียง ๔ กิโลเมตร นักโทษทั่วไปถูกกักกันบริเวณอ่าว ตะโละวาว อยู่ ทาง ตอนเหนือตามแนวถนนที่นักโทษสร้าง ขึ้นราว ๑๐ กิโลเมตร บ้านนักโทษสร้างเป็นเรือน ขนาดใหญ่ พักรวมกันหลายคน ตามหลักฐานว่า มีนักโทษหญิงด้วย ประมาณ ๒๐ คนแต่กักกัน ให้อยู่พิเศษ มีการแบ่งย่อยเป็นแดน ๆ แต่ละแดนมีโรงครัวและที่กินอาหาร
            
บ้านผู้คุม พัศดี สร้างเป็นเรือนไม้ค่อนข้างถาวร บ้านพักผู้บัญชาการ ตั้งอยู่บนเนิน สูงตระหง่าน ห่างจากทะเลประมาณ ๘๐ เมตร
            
ชีวิตนักการเมืองไม่แน่นอนมีโชควาสนาก็ได้เป็นใหญ่เป็นโตมียศศักดิ์ แต่เมื่อตก อับก็อยู่ในคุกตาราง...นี่คือ การเมือง !
นักโทษการเมือง ที่ส่งไปคุมขัง ณ ตะรุเตา จากเรือนจำกลางบางขวาง ต้องคดีกบฏ บวรเดช มีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มรดกทางวัฒนธรรม

มรดกทางวัฒนธรรม
            มรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล คล้ายกับมรดกทางวัฒนธรรมของ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
อาหารการกิน
            แบ่งออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ ชาวไทยพุทธ ชาวไทยอิสลาม และชาวจีน ในที่นี้จะกล่าวถึงอาหารที่ใช้ในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาของทั้งสามกลุ่มดังกล่าวข้างต้น
            อาหารในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาพุทธ  ในเทศกาลเดือนสิบของหวานจะมีขนมลา ขนมเจาะหู ขนมเทียน และขนมพอง ของคาวมี แกงไก่ใส่หน่อไม้ แกงส้ม แกงสมรม ส่วนผลไม้จะเป็นผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ลางสาด เงาะ ทุเรียน ฯลฯ
            อาหารในเทศกาลวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม  อาหารที่นิยม ในงานบุญ และงาน แต่งงาน มีดังนี้
ของหวาน ได้แก่ ขนมกาเปด (โกยเปด) คล้ายกับทองม้วน ขนมบูหลู (ขนมไข่) ขนมโกยหยา (ขนมถั่วอัด) ขนมโกยจาไบ ขนมพริก ของคาว ได้แก่แกงแดง (แกงเผ็ด) แกงกุรม่า (แกงขาว) แกงปัจจาหัว ยำหอย อาจาด อาหารเหล่านี้จะทำกันเฉพาะในโอกาสพิเศษที่สำคัญ ๆ เท่านั้น เพราะมีวิธีการที่ค่อนข้างยุ่งยาก
            การปรุงอาหารมีลักษณะพิเศษคือ ใช้เครื่องเทศในอาหารคาวเกือบทุกชนิด ไม่ใช้น้ำปลาในการปรุงรส ใช้กะทิมะพร้าวเป็นเครื่องปรุง ใช้เนื้อล้วน ๆ ไม่ใช้ผัก และรสอาหารไม่จัด
            วิธีรับประทานอาหารของชาวไทยอิสลาม นิยมนั่งกับพื้นล้อมเป็นวง มีน้ำล้างมือ การรับประทานภายใจครอบครัวจะรับประทานพร้อมกัน เวลาในการรับประทานอาหาร จะสัมพันธ์กับการละหมาดด้วย ส่วนใหญ่จะละหมาดให้เสร็จก่อนแล้วจึงไปรับประทานอาหาร ส่วนการรับประทานอาหารในงานบุญนุหรี หรือในงานแต่งงาน จะแยกวงกันระหว่างชาย - หญิง ไม่รับประทานร่วมกัน
            ในการมาร่วมงาน แม่บ้านจะนำปิ่นโตหรือหม้อที่บรรจุข้าวสาร หรือน้ำตาลมาช่วยงาน เวลากลับเจ้าภาพจะแบ่งปันอาหารให้แขกนำกลับบ้านด้วย การเลี้ยงเจ้าภาพจะรับเลี้ยงตลอดวัน
            อาหารเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวจีน  ประเพณีการเซ่นไหว้ของชาวจีนยังคงปฏิบัติกันอยู่อย่างเคร่งครัดปีละ ๓ ครั้ง คือ ในเทศกาลตรุษจีน เช็งเม้ง และสารทจีน อาหารที่ใช้เซ่นไหว้บรรพบุรุษ นอกจากเหล้าขาว น้ำชา หมู เป็ด ไก่ และผลไม้แล้วยังมีของคาวหวานอีกหลายอย่าง อาหารคาวจะเป็นอาหารที่ปรุงแบบผัด และต้ม ไม่มีแกง เช่น ต้มพะโล้ ผัดเครื่องในไก่ใส่เห็ด และไข่นกกระทา ผัดยี่หู่ อันประกอบด้วย หมูสามชั้น ปลาหมึก กล่ำปลี และหัวมันแกว แกงจืด ฯลฯ อาหารไม่นิยมรสจัด ส่วนผลไม้ที่ใช้เซ่นไหว้ ได้แก่ องุ่น แอปเปิล สาลี่ ส้มเกลี้ยง ส้มโอ แตงโม สับปะรด เงาะ มะม่วง ละมุด ฯลฯ สำหรับของหวานจะได้แก่ ขนมกาเปด ขนมเข่ง ขนมปังเกด ขนมอาปบ ขนมเต่า เหนียวเขียว (ข้าวเหนียวอัด) ฯลฯ