วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติพระยาภูมินารถภักดี เจ้าผู้ครองนครสโตย


        มหาอำมาตย์ตรีพระยาภูมินารถภักดี เดิมชื่อ ตนกู บาฮารุดดิน บินกูแมะ  เป็นบุตรคนที่ ๖ ของนายกูแมะและนางเจ๊ะจิ เกิดที่ตำบล อลอร์สตาร์ อำเภอออลร์สตาร์ รัฐเคดะ (ไทรบุรี) เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๑ มีพี่น้องร่วมบิดา ๗ คนเป็น ชาย ๔ คน หญิง ๓ คน พระยาภูมินารถภักดีมีภรรยา ๔ คน มีบุตรธิดา ๗ คน โดยสมรสกับนางสาวเจ๊ะโสมมีบุตรด้วยกัน ๑ คน สมรสกับนางสาวเจ๊ะด๊ะมีบุตรด้วยกัน ๑ คน สมรสกับนางสาวเจ๊ะเต๊ะเชื้อสายคนจีนชาวตำบลฉลุง (บ้านจีน) มีบุตรด้วยกัน ๒ คน ต่อมาสมรสกับนางสาวหวันเต๊ะฮะอุรามีบุตรธิดาด้วยกัน ๓ คน พระยาภูมินารถภักดี คือ ต้นตระกูล บินตำมะหงง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในจังหวัดสตูล
        ตนกูบาฮารุดดิน เริ่มชีวิตการรับราชการด้วยการเป็นเสมียน ต่อมาดำรงตำแหน่งพัศดีเรือนจำที่เมืองอลอร์สตาร์ หลังจากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าราชการฝ่ายปกครองชั้นสูงทางฝ่ายไทรบุรี ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เมืองไทรบุรีได้ส่งตนกูบาฮารุดดิน มาช่วยราชการเมืองสตูล เนื่องจากพระยาอภัยนุราชเจ้าเมืองสตูลป่วย ไม่สามารถบริหารบ้านเมืองให้เกิดผลดีได้ กระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๐ สตูลว่างเจ้าเมือง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองไทรบุรี เปอร์ลิส และสตูล เป็นเขตการปกครองเดียวกัน ขึ้นต่อมณฑลภูเก็ตและทรงแต่งตั้งตนกูบาฮารุดดิน ให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองสตูล สืบต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๔๓ โดยให้ลงนามลงในหนังสือราชการว่า 
"ตนกูบาฮารุดดินบินกูแมะ"ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นหลวงอินทรวิชัยและพระยาอิินทรวิชัย ตามลำดับ
        ตำแหน่งสุดท้ายคือ มหาอำมาตย์ตรี พระยาภูมินารถภักดี จางวาง กำกับเมืองสตูล ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสตูลอยู่ ๑๔ ปี ออกจากราชการเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๗ และถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๕ อายุรวม ๘๓ ปี ได้ทำพิธีฝังศพที่สุสานมากามาฮา ซึ่งเป็นที่ดินของท่านที่ได้อุทิศไว้สำหรับฝังศพชาวมุสลิมทั่วไปด้วย สุสานแห่งนี้ชาวบ้านเรียกว่า สุสานพระยาภูมินารถ ตั้งอยู่ที่ถนนสตูลธานี ซอย ๑๗ (กูโบร์)
    ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ
         แม้ว่าจะมิได้สืบสายเจ้าเมืองสตูลเดิม แต่ท่าน ตนกูบาฮารุดดินบินกูแมะ ฏ้เป็นนักปกครองที่มีความสามารถ ท่านรู้แตกฉานทั้งภาษาไทยและภาษามลายู จึงสามารถประสานความร่วมมือทั้งท้องถิ่นและทางราชการได้ดี ในยุคที่ตนกูบาฮารุดดินเป็นเจ้าเมือง เมืองสตูลมีความเจริยขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจได้ผลจากการค้ารังนกและพริกไทยเป็นอันมากทั้งยังเป็นศูนย์กลางรับซื้อขายสินค้าทั้งจากปีนังและภูเก็ต จนทำให้เมืองสตูลได้ชื่อว่า "นัครีสะโตยมัมบังสการา"(Negeri Setol Mum Bang Segara) หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา และเป็นหัวเมืองที่มีความสำคัญมากในยุคนั้น กล่าวกันว่าท่านมีความสนิทสนมกับทางราชการกรุงสยามเป็นพิเศษ ถึงกับสั่ง"บุหงามาศ"
เครื่องราชบรรณาการถวายต่อราชสำนักสยามโดยตรง โดยไม่ผ่านเมืองไทรบุรี
       เมืองสตูลได้แยกจากเมืองไทรบุรีอย่างเด็ดขาด ตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ เรื่องปักปันเขตแดนระหว่าง ไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ร.ศ.๑๒๗
(พ.ศ.๒๔๕๒) จากหนังสือสัญญานี้ ยังผลให้ไทรบุรีและเปอร์ลิสตกเป็นของอังกฤษส่วนสตูลคงเป็นไทยสืบมาจนถึงปัจจุบัน 
            "พระยาภูมินารถภักดี"เคยใช้กุศโลบายอันแยบยล รักษาพื้นที่ "เกาะตะรุเตา อาดังราวีและเกาะหลีเป๊ะ"ให้ยังคงอยู่ในเขตราชอาณาจักรไทยไม่ตกไปอยู่ในมือเจ้าอาณานิคมอังกฤษ ที่พยายามจะล้ำเส้นเขตแดนเข้ามาฮุบไป...ถ้าไม่มีเจ้าเมืองสตูลที่มีความสามารถรอบคอบอย่างท่าน ป่านนี้เกาะหลีเป๊ะอันแสนงาม คงอยู่ในเขตประเทศมาเลเซียเหมือนเกาะลังกาวีแล้ว 
            พระยาภูมินารถภักดี เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อแผ่นดินไทยบริหารบ้านเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจ ราษฎรอยู่กันอย่างสงบสุข มีความเจริญก้าวหน้า บ้านพักของพระยาภูมนารถภักดี คือที่ตั้งโรงแรมพินาเคิลวังใหม่ทุกวันนี้ ชาวสตูลสมัยก่อนนิยมเรียก วังเก่า หมายถึง คฤหาสน์ หรือ จวน ของผู้ว่าราชการเมือง หรือเจ้าเมือง เมืองสตูลถูกปกครองด้วยเชื้อสายของพระยาไทรบุรี ระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒-๒๔๔๓ เป็นเวลากว่า ๖๐ ปี พระยาภูมนารถภักดีจึงเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูลคนแรกที่เป็นคนธรรมดาสามัญ ไม่มีเชื้อสายของเจ้าพระยาไทรบุรีแต่อย่างใด พระยาภูมินารถภักดี เป็นนักปฏิรูปบ้านเมืองจนพัฒนาเมืองสตูลขึ้นต่อมณฑลภูเก็ต มีพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดีเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑล เป็นผู้นำสำคัญอยู่ด้วย 

     ผลงานที่สำคัญของพระยาภูมนารถภักดี มีดังนี้
๑. การออกหนังสือสำคัญที่ดินผลงานด้านการปกครอง พระยาภูมินารถภักดีได้จักระบบการปกครองบ้านเมืองตามแบบอย่างเมืองไทรบุรี นับเป็นครั้งแรกที่มีส่วนราชการอย่างชัดเจนมีผู้รับผิดชอบฝ่ายงานต่างๆ เรียกว่าคณะกรรมการจังหวัด เช่น ฝ่ายคลัง ฝ่ายกิจการท้องถิ่น ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายรักษาความสงบภายใน ฝ่ายล่ามภาษาไทย เป็นต้น จัดให้มีกำนัน(ปังฮูลูมูเก็บ) เป็นผู้ดูแลในแต่ละตำบล เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในท้องที่ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้าราชการมีเครื่องแบบเฉพาะ ตัวเมืองสตูลตั้งอยู่ที่ ตำบลมำบังนังคะรา คือ ย่านถนนบุรีวานิช เป็นที่ตั้งของศาลาว่าการเมือง มัสยิดกลาง บ้านพักข้าราชการ และอาคารอื่นๆ ศาลาการเมืองตั้งอยู่ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองสตูลทุกวันนี้ จากนั้นพระยาภูมินารถภักดี่ได้สร้างศาลาที่ว่าการหลังใหม่คือ คฤหาสน์กูเด็น ต่อมาตึกนี้ได้ใช้ประโยชน์ในทางราชการมากมาย เช่น สำนักงานเทศบาล ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล โรงเรียนเทศบาล ฯ เป็นต้น
        พระยาภูมินารถ ได้แบ่งเขตการปกครองเมืองสตูลออกเป็น ๒ อำเภอ กับ ๒ กิ่งประกอบไปด้วย อำเภอมำบัง อำเภอสุไหงอุเป กิ่งอำเภอละงู และ กิ่งอำเภอดุสน เป้นต้น
๒. การสื่อสารและการคมนาคมจัดให้มีการทำการไปรษณีย์โทรเลขเดินสายโทรเลขไปอำเภอ
ทุ่งหว้า-ตรัง และ เมืองเปอร์ลิส สร้างถนนจากบ้านจีน-วังประจัน, บ้านจีน-ควนโพธิ์ , บ้านจีน-ควนเนียง สร้างท่าเทียบเรือเซิ้งหิ่น , เกาะ นาว , สุไหงอุเป เป็นต้น
๓.ผลงานด้านการศึกษา เปิดโรงเรียนไทย-มลายู โรงเรียนประถมหลังแรกจัดเป็นโรงเรียนหลักสูตรพิเศษคือสอนทั้งภาษาไทยและมลายู การศึกษาของสตูลจึงเริ่มเป็นปึกแผ่นตั้งแต่บัดนั้น
๔. การออกหนังสือสำคัญที่ดิน สมัยนั้นเรียกว่า การัน เพี้ยนมาจากภาษาอังกฤาว่า การันตี หรือ โฉนด หมายถึงการออกโฉนดที่ดินนั่นเอง มีการรังวัดปักหลักหินแสดงเขตที่ดินแต่ละเจ้าของซึ่งหลักหินดังกล่าวยังมีปรากฎมาจนถึงทุกวันนี้
๕.  การค้าระหว่างประเทศได้สร้างท่าเทียบเรือสุไหงอุเป เป็นท่าเรือใหญ่ มีชาวจีนจากเกาะปีนังมาติดต่อค้าขายพริกไทยและอพยบมาอยู่สุไหงอุเป
๖.  ด้านภาษีอากร ได้ปรับปรุงการจัดเก้บภาษีอากร ศุสกากร ในการส่งสินค้าออกนอกจากนั้นเมืองสตูลได้ผุกขาดการเก้บภาษีเป้นส่วนใหญ่ เช่น ผูกขาดเกาะรังนก ฯทำให้มีรายได้ สร้างความเจริญแก่บ้านเมืองอย่างมาก
๗.  ด้านศาสนา ได้ปรับปรุงส่งเสริมบทบาทของกอฎี ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินคดีมรดก คดีครอบครัว ให้มีบทบาทมากขึ้น
๘.  สร้างเรือนจำ พระยาภูมนารถได้จัดสร้างเรือนจำใหม่เลียนแบบเรือนจำที่อังกฤษสร้างขึ้นที่เกาะปีนัง ซึ่งก็คือเรือนจำจังหวัดสตูลในปัจจุบัน
๙.  พัฒนากิจการพยายบาล มีการขยายกิจการโรงพยาบาลสถานที่ผ่าตัด ซึ่งเคยอยู่ที่ย่านชุมชนของตำบลมำบังนังคะรา ให้มาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกในการปิบัติหน้าที่

ที่มา : ความรู้จาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคฤหาสน์กูเด็น
            
    


1 ความคิดเห็น: